ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
นกขนาดเล็กถึงกลาง (33 ซม.) ขนคลุมลำตัวสีดำทั้งตัว ที่ปีกมีสีขาวแซมเป็นแถบเล็กๆ ขนคลุมโคนขนทางด้านล่างเป็น สีขาวปลายปากสีเหลือง โคนปากมีกะบังสีแดงเลยขึ้นมาถึงหน้าผากสีจะเข้มมากขึ้นในฤดูผสมพันธุ์
-
ปากแดงปลายเหลือง โคนสันปากบนเป็นกะบังสีเดียวกับปาก
กะบังจะใหญ่ขึ้นในฤดูผสมพันธุ์ ตาสีน้ำตาลเข้ม ขนลำตัวดำ อกดำแกมเทา หลังดำแกมน้ำตาล มีขีดขาวเป็นเส้นๆ ตามยาวข้างลำตัว ก้นและขนคลุม ใต้หางขาวมีแถบดำตรงกลาง นกวัยอ่อน ปากสีเหลืองแกมเขียว คอด้านหน้า อก และท้องขาวแกมเทา ลำตัวสีน้ำตาลแกมเทา ใต้หางขาว เสียงร้อง “กิ๊ก” สั้นๆ และรัว ดัง “กรื้อออ...”
กะบังจะใหญ่ขึ้นในฤดูผสมพันธุ์ ตาสีน้ำตาลเข้ม ขนลำตัวดำ อกดำแกมเทา หลังดำแกมน้ำตาล มีขีดขาวเป็นเส้นๆ ตามยาวข้างลำตัว ก้นและขนคลุม ใต้หางขาวมีแถบดำตรงกลาง นกวัยอ่อน ปากสีเหลืองแกมเขียว คอด้านหน้า อก และท้องขาวแกมเทา ลำตัวสีน้ำตาลแกมเทา ใต้หางขาว เสียงร้อง “กิ๊ก” สั้นๆ และรัว ดัง “กรื้อออ...”
ระบบนิเวศ :
-
อาศัยตามแหล่งน้ำต่างๆ เช่น บึง คลอง หนอง ทะเลสาบ และอ่างเก็บน้ำ มักพบว่ายน้ำหากิน เวลามีศัตรูเข้ามาใกล้จะว่ายน้ำและวิ่งหนีแทนการบิน มักจะบินในระยะใกล้อาหารได้แก่ สัตว์น้ำเล็กๆ รวมทั้งพืชน้ำต่างๆ ด้วย
-
ระบบนิเวศป่าไม้
-
ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน
-
ระบบนิเวศแมน้ำ หนองน้ำ พื้นที่ชุมน้ำ
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
-
พะเยา
-
อุตรดิตถ์,แพร่,น่าน,พะเยา
-
ฉะเชิงเทรา
-
นนทบุรี
-
กรุงเทพมหานคร
-
กรุงเทพมหานคร
-
ลำพูน, เชียงราย
-
สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
-
นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
-
สระแก้ว
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
การขยายพันธุ์ :
-
ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ทำรังตามพงหญ้าหรือพุ่มไม้ใกล้ๆ น้ำ โดยใช้ใบหญ้ามาวางซ้อนทับกัน ไข่สีขาวนวลหรือสีส้ม มีลายจุดสีน้ำตาลแดง ในแต่ละรังมีไข่ 6- 10 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 19-22 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
บริเวณบ้านปางพริก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง
-
ลุ่มน้ำอิง,ลุ่มน้ำยม,ลุ่มน้ำน่าน
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร ลำพูน, ป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว เชียงราย
-
อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
-
อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
-
อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
-
เชียงราย
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2019)
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2019)
ที่มาของข้อมูล
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2563.
-
OEPP Biodiversity Series Vol. 7 Birds of Bung Boraphet, 2543
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน (Inland Water Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)
-
กรมป่าไม้
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
คู่มือจำแนกชนิดพันธุ์นกน้ำ ในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำอิงตอนล่าง, 2566, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
IUCN Red List
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
พิพิธภัณฑ์
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |
---|---|---|---|
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |