ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นกขนาดเล็ก ( 17-18 ซม.) ตัวผู้บริเวณหัว คอ และด้านบนลำตัวสีเขียวสดเหลือบด้วยสีทองแดง ด้านล่างลำตัวสีขาว มีลายพาดสีเขียวแกมสีทองแดง ตัวเมียด้านบนลำตัวสีเขียวมรกตแวววาว กระหมอมและท้ายทอยสีน้ำตาลเหลืองทอง ด้านล่างลำตัวสีขาวมีลายแต้มสีน้ำตาลเหลืองที่คอหอยและสีข้าง และมีลายพาดสีน้ำตาลแกมทองแดงลายพาดดังกล่าวจะเล็กที่สุดบริเวณคอหอย และใหญ่ที่สุดบริเวณท้อง
- มีขนาดประมาณ 17 เซนติเมตร ปากเหลืองปลายดำ หางคู่นอกมีขอบขาวดำ ตัวผู้ หัวอก หลัง ปีก และหางสีเขียวมรกตเหลือบเปํนมัน อกตอนล่างถึงก้นขาว มีลายขวางสีเขียว ตัวเมีย หัวน้ำตาลแดง คอและอกแซมสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านบนสีเขียวแกมเหลืองวาวเป็นมัน ขอบหางคู่นอกๆ สีน้ำตาลแดง
ระบบนิเวศ :
- พบตามป่าดงดิบ และสวนผลไม้ อาหารได้แก่ แด มวน ตัวหนอน และแมลงต่างๆ ใช้ทั้งวิธีบินโฉบจับกลางอากาศใกล้ๆ กับที่เกาะ และจิกกินตามกิ่งไม้ และใบไม้
- ระบบนิเวศป่าไม้, ป่าดิบเขา
- ระบบนิเวศภูเขา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- เชียงใหม่
- เลย
- ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา
- เชียงใหม่
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
การขยายพันธุ์ :
- การผสมพันธุ์ เป็นนกปรสิต ไม่สร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อนของตนเอง แต่จะไปวางไข่ในรังของนกอื่นๆ ปกติวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ไข่มีสีพื้นเป็นสีขาว
มีลักษณะเป็นดวงหรือรอยเปื้อนสีน้ำตาลอ่อน วางไข่ 1 ฟอง ในแต่ละรัง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าดอยอินทนนท์, เขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ
- ป่าภูหลวง
- ป่าสงวนแห่งชาติป่าสาลีก, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่เลา-แม่แสะ
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2018)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
NSM Loei
NSM Nan
NSM -
NSM Chiang mai
NSM Chiang mai
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ