ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นก
- นกขนาดเล็ก-กลาง (44 ซม.) ตัวเต็มวัยบริเวณกระหม่อม ท้ายทอยและด้านข้าคอสีเทา ส่วนอื่นๆ ที่เหลือทางด้านบนลำตัวสีน้ำตาลแกมเทา ด้านบนของหางสีน้ำตาล มีลายแถบสีดำ ปลายทางสีขาวหรือขาวแกมน้ำตาล โต้คางสีดำ คอหอยสีเทามีลายขีดสีขาว สีเทา และสีน้ำตาลแดง อกตอนบนสีน้ำตาลแดง ท้ห้องสีขาวมีลายพาดสีน้ำตาลแดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- หัวเทา หนังรอบตาเหลือง คางดำ ลำตัวด้านบนเทา อกน้ำตตาลแดง มีขีดสีคล้ำมกระจาย อก ท้อง และสีข้างมีลายขวางกว้างสีเทาดำ หางเทามีบั้งกว้างสีเข้ม นกอ่อนวัย : หัวน้ำตาลแกมเทา ท้ายทอยน้ำตาลแดง มีลายขีดที่อกและท้อง
ระบบนิเวศ :
- ป่าดิบ ป่าโปร่ง อาจพบในป่าชายเลนและสวนในช่วงอพยพ
- พบตามป่าคงดิบแล้ง ป่าคงดิบเขา และบริเวณป่าละเมาะ พบโดดเดี่ยว มักเกาะตามกิ่งไม้ที่มีใบค่อนข้างแน่นทึบ อาจจะกระโดดจากกิ่งหนึ่งไปยังอีกกิ่งไม้หนึ่ง หรือบินจากกิ่งไม้หนึ่งไปยังอีกกิ่งไม้หนึ่ง อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ ตัวหนอนต่างๆ และแมลงต่างๆ โดยใช้ปากจิกกินตามลำต้น กิ่งและยอดอ่อนของต้นไม้ ไม้พุ่ม และไม้พื้นล่างต่างๆ
- ระบบนิเวศภูเขา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- เลย
- กรุงเทพมหานคร
- สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
การขยายพันธุ์ :
- การผสมพันธุ์ เป็นนกปรสิต ไม่สร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกของตัวเอง แต่จะไปวางไข่ในรังของนกอื่นๆ สีของไข่มี 2 แบบ คือ สีฟ้าอ่อน และสีน้ำตาล หลังจากออกไข่ทิ้งไว้ในรังของนกต่างๆ แล้ว จะปล่อยให้นกเจ้าของรังฟักไข่
และเลี้ยงดูลูกอ่อนให้ พ่อแม่ที่แท้จริงไม่ได้สนใจไข่และลูกอ่อนอีกเลย
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าภูหลวง
- อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ