ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
- ลักษณะลำตัวสีน้ำตาลเทา มีลายเลอะแต้มบนหลัง แขนเรียวยาว ขาสั้น ครึ่งตาบนมีสีแสด ท้องสีขาวแต้มจุดประสีดำ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- อึ่งกรายลายเลอะเป็นอึ่งกรายขนาดกลาง ความยาวจากหัวถึงก้นประมาณ 4-8 เซนติเมตร หัวกว้างกว่าลำตัว สันจมูกชัด รูปร่างหนา หน้าอกมีต่อมเป็นตุ่มนูนสีขาวบริเวณโคนขาหน้าข้างละ 1 ต่อม ดูคล้ายหัวนม แขนยาว แต่ขาหลังค่อนข้างสั้นและไม่แข็งแรง ทำให้กระโดดได้ไม่ดีนัก ดวงตาสีดำครึ่งตาบนสีแดง ส้ม หรือเหลือง ลำตัวสีน้ำตาล สีน้ำตาลเทา หรือสีเทาอมขาว สามารถเปลี่ยนเป็นสีคล้ำได้เมื่อตกใจหรือเครียด มีลวดลายเลอะๆ คางและท้องสีครีมมีลายแต้มสีดำ เพศผู้ในช่วงผสมพันธุ์มีใต้คางเป็นสีคล้ำ ขาด้านบนมีลายแถบขวางสีน้ำตาลเข้ม อึ่งกรายวัยเด็กมักมีสีสันสดใสกว่าอึ่งกรายที่มีอายุมากขึ้นสีสันและลวดลายดูคล้ายกันกับอึ่งกรายลายจุดและอึ่งกรายตาขาวตะนาวศรี ประชากรทางภาคใต้ ลายใต้ท้องมักเป็นจุดประสีจาง มองเห็นลวดลายตามตัวไม่ชัดเจน ปรากฏเป็นปื้นสีคล้ำ ครึ่งตาบนมักมีสีเหลืองครีม ซึ่งพบประชากรนี้ได้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป ประชากรบนเกาะทางฝั่งอันดามัน สีลำตัวมักซีดกว่าประชากรบนแผ่นดินใหญ่ ประชากรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักเป็นสีเทาอ่อนตลอดตัว ลายแต้มตามตัวชัดเจน ลายใต้ท้องมักเป็นปื้นขนาดใหญ่ ครึ่งตาบนมักมีสีส้มหรือสีแดงสด ลูกอ๊อดมีลักษณะลำตัวเพรียวรูปไข่ หางยาว ท้องค่อนข้างใส เห็นอวัยวะภายในได้ สีสันตามลำตัวสีน้ำตาลเทา หรือสีน้ำตาลอมส้ม ลวดลายตามลำตัวค่อนข้างไม่แน่นอน มีแต้มสีเข้มกระจายทั่วตัวและหาง บริเวณหัวมักมีแต้มขนาดใหญ่กระจายทั่ว ลูกอ๊อดบางตัวมีแค่ลายเปรอะบริเวณหัว ไม่พบลายประที่หาง หรือบริเวณอื่น
ระบบนิเวศ :
- พบตัวได้ง่ายบริเวณริมลำธารหรือตามทางเดินในป่า ช่วงกลางคืน โดยพบทั้งในป่าดิบแล้ง ป่าไผ่ ป่าดิบชื้อ ไปจนถึงป่าดิบเขาระดับกลาง มักพบอึ่งกรายเต็มวัยนั่งอยู่บริเวณกองใบไม้ร่วงที่ทับถมข้างลำธาร ซอกหิน หรือบนตอไม้ล้ม บางครั้งอาจพบกลางลำห้วย ส่วนมากเป็นเพศผู้ที่ต้องการผสมพันธุ์ โดยพบร้องในช่วงฤดูหนาวและปลายฤดูฝน ช่วงฤดูฝนอาจพบอยู่ไกลจากลำธาร ตามพื้นป่า หรือใต้กองไม้ วางไข่บริเวณแอ่งน้ำข้างลำธารที่มีน้ำไหลเอื่อย ไข่ด้านหนึ่งสีขาวอีกด้านหนึ่งสีดำ วางติดกับวัสดุ เมื่อถูกพบตัวมักหมอบราบกับพื้นเพื่อพรางตัว เมื่อถูกรบกวนมักทำตัวแข็งนิ่งแสร้งตายอยู่นาน เมื่อถูกรบกวนนานๆ บางตัวอาจแอ่นตัวขึ้น และเปิดเปลือกตาเผยดวงตาสีส้มสด เพื่อข่มขวัญผู้บุกรุกให้ตกใจ อาหารได้แก่ แมลงขนาดเล็ก แมงมุม และปูขนาดเล็ก ลูกอ๊อดกินซากพืชและซากสัตว์เป็นอาหารมักพบอาศัยในลำธารที่มีน้ำไหลตลอดปี ทั้งในลำธารขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีพื้นเป็นกรวดหินหรือทราบปนโคลนมีเสษใบไม้ทับถมไม่มากนัก น้ำค่อนข้างใส ลูกอ๊อดหลบซ่อนตัวใต้ก้อนหินหรือตามกรวดในเวลากลางวัน และพบออกมาหากินบริเวณน้ำตื้นริมขอบของลำธารตอนกลางคืน
- พบอาศัยอยู่ในป่าดิบต่ำที่สมบูรณ์และป่าผสมผลัดใบ ในลำธาร โดยเฉพาะใต้กองใบไม้แห้ง การแพร่พันธุ์พบปรากฏในลำธารเล็กๆบนภูเขา ที่สะอาดและใส ระบบนิเวศ: แหล่งอาศัยบนบก, น้ำจืด
- forest. Tadpoles inhabit in forest streams with little current.
- ระบบนิเวศภูเขา
การกระจายพันธุ์ :
- พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ปางอุ๋ง ปางมะผ้า) เชียงใหม่ (ดอยอินทนนท์ ดอยสุเทพ- ปุย ดอยเชียงดาว ดอยสะเก็ด ห้วยน้ำดัง) น่าน (ดอยภูคา ขุนน่าน) เลย (ภูหลวง) อุทัยธานี (ห้วยขาแข้ง) กระบี่ (คลองท่อม) นครศรีธรรมราช (เขาหลวง เขานัน) ตรัง (เขาช่อง) และนราธิวาส (แว้ง)
- พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ปางอุ๋ง ปางมะผ้า) เชียงใหม่ (ดอยอินทนนท์ ดอยสุเทพ- ปุย ดอยเชียงดาว ดอยสะเก็ด ห้วยน้ำดัง) น่าน (ดอยภูคา ขุนน่าน) เลย (ภูหลวง) อุทัยธานี (ห้วยขาแข้ง) กระบี่ (คลองท่อม) นครศรีธรรมราช (เขาหลวง เขานัน) ตรัง (เขาช่อง) และนราธิวาส (แว้ง)
- ทุกภาคของประเทศไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- แม่ฮ่องสอน,เชียงใหม่,ตาก,อุทัยธานี,กาญจนบุรี,เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,เลย,พังงา,นครศรีธรรมราช,กระบี่,ตรัง,สงขลา,ยะลา,นราธิวาส
- เลย
- อุตรดิตถ์
- ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา
- เชียงใหม่
- พิษณุโลก
- สุราษฎร์ธานี, ระนอง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- Mae Hong Son (Lam Nam Pai, Pa Sue Falls); Chiang Mai (Doi Chiang Dao, Doi Inthanon, Doi Saket, Doi Suthep-Pui); Tak (Thung Yai WS); Uthai Thani (Haui Khakhaeng WS);
Kanchanaburi (Erawan, Pilok, Sangkhlaburi, Thong Pa Phum);
Phetchaburi (Kaengkrachan); Prachuap Khirikhan (Haui Yang
Falls, Pa-La-U Falls); Loei (Na Haeo, Dan Sai, Phu Luang,
Phu Rue, Phu Kradung); Phangnga; Nakhon Si Thammarat
(Khao Luang); Trang (Khao Bantat, Khao Chong); Krabi
(Khao Panombencha, Khao Pra Bang Kram); Songkhla (Ton
Ngachang WS); Yala and Narathiwat (Hala-Bala WS).
- ป่าภูหลวง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า น้ำปาด
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่เลา-แม่แสะ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเมี่ยง-ภูทอง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองนาคา
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2004)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ