ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- มีขนาดหัวและลำตัว 47-58 เซนติเมตร หาง 20-28 เซนติเมตร หางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวหัวรวมลำตัวและห้อยลง ขนบนกระหม่อมสั้นและไม่แสกกลางทำให้ดูเหมือนใส่หมวกสีเข้ม แต่ไม่เด่นเท่ากับของลิงกัง ลิงวอกมีเอกลักษณ์ตรงที่ส่วนท้ายของลำตัวเป็นสีออกแดงและผิวหนังบริเวณขาหนีบสีแดงสดซึ่งเห็นได้ชัดเจนในธรรมชาติ ในลิงอ้ายเงี้ยะบริเวณนี้มีสีเทาหรือน้ำตาล
- ลำตัวส่วนหลังสีน้ำตาล ส่วนอื่นเป็นสีน้ำตาลเทา หางสั้นประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว โคนหางค่อนข้างใหญ่และเรียวเล็กลงไปทางปลายหาง แต่หางสั้นกว่าลิงแสม ขนบริเวณสองข้างแก้มม้วนวนเป็นก้นหอย
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม, ป่าสงวนแห่งชาติป่าสาลีก
- พนในประเทศไทย พม่า อินเดีย อัสสัม เนปาล อัฟกานิสถาน จีน และอินโดจีน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ
- ผาแต้ม
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงลอ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่เลา-แม่แสะ
สถานที่ชม :
- สวนสัตว์เชียงใหม่,สวนสัตว์นครราชสีมา
การกระจายพันธุ์ :
- ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
- อุบลราชธานี
- พะเยา
- เชียงใหม่
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ระบบนิเวศ :
- ระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น, ภูเขาหินทรายปกคลุมไปด้วยป่าและลานหิน
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- ช่วยในการกระจายพันธุ์, อื่นๆ
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2008)
ข้อมูลสภานภาพ CITES

CITES โลก

- บัญชีหมายเลข II (ประกาศใช้เมื่อ 1977-02-04)

CITES ไทย

- บัญชีหมายเลข II

พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
NSM Tak
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ