ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองยัน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้พุ่ม
- พืชล้มลุกกึ่งเลื้อย อายุหลายปี สูง ๑-๓ เมตร ตามกิ่งอ่อน ช่อดอก ก้านใบ และ ท้องใบมีขนสั้นหนาแน่น ใบเรียงตรงกันข้าม รูปไข่-ไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ยาว ๔-๑๐ เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจัก ก้านใบยาว ๑-๒ เซนติเมตร ช่อดอกแบบแยกแขนง มีช่อดอกย่อยติดแบบซี่ร่มห่างๆ ช่อดอกย่อยเป็นช่อกระจุก ทรงกระบอกสีขาว-สีชมพูอ่อน กว้าง ๔-๕ มิลลิเมตร ติดเมล็ดขนาดเล็ก ยาว เพียง ๔ มิลลิเมตร ปลายเมล็ดมีพู่ขนสีขาว ปลิวตามลมได้ไกล ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งเสื่อมโทรม หรือตามพื้นที่เกษตร ที่ระดับต่ำกว่า ๑,๓๐๐ เมตร ลงมา ชอบพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝน ๑,๐๐๐-๑,๕๐๐ มิลลิเมตร/ปี ติดผลประมาณฤดูหนาว-ร้อน ถ้าแห้งแล้ง มากหรือถูกไฟป่าต้นอาจแห้งตาย แล้วแตกหน่อขึ้นมาใหม่ในฤดูฝน
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำบึงราชนก/พิษณุโลก
- เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
- ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา
- สุราษฎร์ธานี
- กาญจนบุรี, ตาก
- ราชบุรี
ถิ่นกำเนิด :
- ทวีปอเมริกาใต้
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร,ใบ ใช้สมานแผล
- สมุนไพร
- ดอกสาบเสือมีสรรพคุณช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้ตาฟาง ตาแฉะ ช่วยแก้กระหายน้ำ ดอกช่วยแก้ไข้ รากสาบเสือใช้ผสมกับรากมะนาวและรากย่านาง นำมาต้มเป็นน้ำดื่มช่วยรักษาไข้ป่าได้ ดอกใช้เป็นยาแก้ร้อนใน ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง อาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ รากสาบเสือนำมาใช้ต้มเป็นน้ำดื่มช่วยแก้โรคกระเพาะได้ ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
- ใช้ใบนำมาโขลกและขยี้แล้วนำมาพอกบริเวณแผล รากเอามาต้มดื่ม ห้ามเลือด แก้ปวดท้องช้ำใน รักษาแผลเป็น
ที่มาของข้อมูล