ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30 ซม. ลำต้นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านโปร่ง ๆ ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ขอบใบจัก กว้าง 0.8-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. ดอก ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด จึงทำให้เป็นลักษณะพุ่มที่ปลายกิ่ง กลีบรองกลีบดอกโป่งคล้ายเป็น ครีบ 5 ครีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีม่วงอ่อนและมีสีเหลืองแต้ม ปลายหลอดแยกเป็น 2 กลีบ กลีบบนสีม่วงอ่อน แยกเป็น 2 แฉก ตื้นๆ กลีบล่างมี 3 แฉก แฉกสีฟ้าปนม่วงกลีบกลางมีสีเหลืองแต้ม ผล เป็นฝัก รูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.3 ซม. ยาว 1 ซม. และเกล็ดมีขนาดเล็ก รูปรี
- ไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูง 20-40 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านโปร่ง ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมีขนที่สัน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับฉาก กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 1.5-5 เซนติเมตร รูปใบหอก ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย แผ่นใบมีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมถึงรูปหัวใจ ก้านใบยาวประมาณ 1.5 มม. ดอกช่อกระจะโปร่ง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสมบูรณ์เพศ ก้านช่อดอกยาว 4 ซม. แกนช่อดอกยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับ 1 ใบ รูปแถบแกมใบหอก กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ปลายแหลม ขอบเป็นชายครุย ผิวมีขนสั้นปกคลุม ดอกย่อยมีได้ถึง 8 ดอก บานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มม. ก้านดอกย่อยยาว 1.5 ซม. มีขนสั้นนุ่มบริเวณสัน กลีบดอกมี 5 กลีบ หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 ซม. โคนแคบ ผิวด้านในมีขนสั้นนุ่ม ผิวด้านนอกเกลี้ยง หรือมีขนต่อมขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วงปากสีม่วงเข้ม กลีบตรงกลางมีแต้มสีเหลือง เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นสองปาก กลีบด้านบนสองกลีบ กว้างประมาณ 10 มม. ยาวประมาณ 8 มม. ชนกันเป็นรูปคุ่ม กลีบด้านล่างสามกลีบสีม่วงเข้ม กว้างประมาณ 8 มม. ยาวประมาณ 7 มม. เกสรเพศผู้ 4 อัน แบ่งเป็น 2 คู่ สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน ติดบริเวณกลางของหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ทรงกระบอกเบี้ยว ภายในแบ่งเป็น 2 ช่อง ออวุลจำนวนมากติดที่แกน ก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน ยาวประมาณ 16 มม. ยอดเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นทรงรี แต่ละกลีบมีครีบ กว้างประมาณ 2 มม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 6 มม. ผลเป็นฝัก รูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.3 ซม. ยาว 1 ซม. มีกลีบลี้ยงติดทน เมล็ดมีขนาดเล็ก มีจำนวนมาก รูปรี ขึ้นบริเวณที่ร่ม หรือบนหินในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ พื้นที่ชุ่มน้ำ ตามซอกหินที่ชื้น ริมลำธาร ตั้งแต่พื้นราบจนถึงระดับ 1,200 เมตร ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไปทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30 ซม. ลำต้นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านโปร่ง ๆ ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ขอบใบจัก กว้าง 0.8-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. ดอก ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด จึงทำให้เป็นลักษณะพุ่มที่ปลายกิ่ง กลีบรองกลีบดอกโป่งคล้ายเป็น ครีบ 5 ครีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีม่วงอ่อนและมีสีเหลืองแต้ม ปลายหลอดแยกเป็น 2 กลีบ กลีบบนสีม่วงอ่อน แยกเป็น 2 แฉก ตื้นๆ กลีบล่างมี 3 แฉก แฉกสีฟ้าปนม่วงกลีบกลางมีสีเหลืองแต้ม ผล เป็นฝัก รูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.3 ซม. ยาว 1 ซม. และเกล็ดมีขนาดเล็ก รูปรี
- ต้นสูง 31.94-42.46 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 3.84-4.36 เซนติเมตร ใบยาว 3.31-3.93 เซนติเมตร กว้าง 2.06-2.44 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.8-1.3 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 5.25-8.65 เซนติเมตร มี 3-6 ดอกต่อช่อ ฝักยาว 1.45-1.67 เซนติเมตร กว้าง 0.65-0.87 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์ :
- ในธรรมชาติพบในพื้นที่ชุ่มน้ำ ตามซอกหินที่ชื้น ริมลำธาร และในพื้นที่ชายป่าดงดิบ ตั้งแต่พื้นราบจนถึง 1200 เมตร
- มีถิ่นกำเนิดในแถบอินโดจีน ในธรรมชาติพบในพื้นที่ชุ่มน้ำ ตามซอกหินที่ชื้น ริมลำธาร และในพื้นที่ชายป่าดงดิบ ตั้งแต่พื้นราบจนถึง 1200 เมตร
- ในธรรมชาติพบในพื้นที่ชุ่มน้ำ ตามซอกหินที่ชื้น ริมลำธาร และในพื้นที่ชายป่าดงดิบ ตั้งแต่พื้นราบจนถึง 1200 เมตร
- พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่ป่าผลัดใบ ดินร่วนทราย ดินทราย พื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 126 เมตร
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้ล้มลุก
- เป็นพืชล้มลุก (annual) ขนาดเล็ก ลำต้นกึ่งตั้ง ส่วนที่อยู่ด้านล่างทอดนอนเกือบติดพื้นดิน ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีสันขึ้น สีลำต้นเขียวอมม่วง มีขนสั้น ๆ ปกคลุมปานกลาง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก (decussate) รูปร่างใบแบบรูปไข่ (ovate) โคนใบตัดตรง (truncate) ปลายใบแหลมติ่ง (cuspidate) หน้าใบ หลังใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุมปานกลาง ก้านใบสีเขียวอ่อน มีขนคลุม ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบนุ่ม (tender) เส้นกลางใบ (mid rib) และเส้นใบ (vein) ที่แยกจากเส้นกลางใบ มีลักษณะคล้ายคลื่นสั้น ๆ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยถี่ (serrulate) รอยจักลึกคมชัดเจน ตรงปลายรอยหยักมีขน 1 เส้นไม่มีหูใบ ดอกออกตลอดปี ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อกระจะ (raceme) ดอกเดี่ยวรูปปาก (labiate) มีก้านดอก โคนดอกส่วนที่มีกาบดอก (bract) หุ้มอยู่มีสีเหลือง กาบหุ้มดอกสีเขียวอ่อนลักษณะเป็นแผ่นปีก 5 ปีกรอบ ๆ โคนดอกเหนือขึ้นมามีสีม่วง กลีบกลาง (standard) ขนาดใหญ่สีม่วง กลีบคู่ข้าง (wing) ส่วนบนสีม่วงอมดำ กลีบคู่ล่าง (keel) สีม่วงอมดำ มีแต้มสีเหลือเป็นวงรูปไข่  อับเรณูสีม่วงอมขาว ฝักเป็นรูปรีแบ่งเป็น 5 แฉก สีเขียวอมม่วง มี 1-3 ฝักต่อช่อ ฝักแก่แตกตามยาว(septifragal)เมล็ดรูปกลมสีเหลืองขนาดเล็ก จำนวนมาก
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- อุบลราชธานี
- เขตพื้นที่สอนป่าดงมัน บ้านคำน้ำสร้าง ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร (PC 523)
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ผาแต้ม
ถิ่นกำเนิด :
- ไทย
การขยายพันธุ์ :
- ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด