ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นไม้พุ่ม (shrub) ขนาดเล็ก อายุหลายปี ปลายยอดค่อนข้างตั้ง ลำต้นสีน้ำตาลแดงมีขนปกคลุมปานกลาง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยข้างขอบใบล่างโค้งเบี้ยวเล็กน้อย มี ใบย่อย3 ใบย่อยและมีก้านใบ (pinnately-trifoliate) รูปร่างใบย่อยแบบรูปไข่แกมใบหอก (ovate lanceolate) โคนค่อนข้างกลม แผ่นกลางใบกว้างโค้งไปปลายใบ ปลายใบค่อนข้างมน (obtuse) ใบสีเขียวเข้ม หน้าใบและหลังใบมีขนสั้นๆปริมาณปานกลาง ขอบใบเรียบมีสีน้ำตาลแดง ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย หน้าใบ ซึ่งแตกต่างจากต้นเกล็ดปลาหมอ (Phyllodium elegans) ที่มีผิวใบนุ่ม มีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่นทั้งหน้าใบและหลังใบ มีปลายใบสอบเรียว ขอบใบสีน้ำตาลเหลือง ต้นเกล็ดปลาช่อนมีก้านใบสีน้ำตาลแดง มีขนละเอียดปกคลุมมาก หูใบค่อนข้างแข็งเรียวแบบหนาม (spinous) ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม ดอกออกตามซอกใบและปลายยอด ลักษณะดอกออกเป็นกระจุกมีใบประดับลักษณะคล้ายเกล็ดปลาประกบไว้สองใบ ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่ว กลีบดอกสี เหลืองนวล อับเรณู (anther)สีเหลือง ในแต่ละช่อมี 21-36 ช่อดอกย่อย รูปฝักแบนคอดเป็นข้อๆ ฝักแก่สีดำอมน้ำตาล มีขนปกคลุม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ต้นสูง 102.19-113.57 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 32.4-37.2 มิลลิเมตร ใบกลางยาว 9.9-13.1 เซนติเมตร กว้าง 4.3-7.3 เซนติเมตร ใบข้างยาว 5.51-8.67 เซนติเมตร กว้าง 2.47-5.09 เซนติเมตร ซอกใบมีกิ่งใบย่อยเกิดซ้อน ก้านใบยาว 0.88-1.02 เซนติเมตร ความยาวช่อดอกรวม 9.13-13.93 เซนติเมตร ฝักยาว 0.88-1.06 เซนติเมตร กว้าง 0.27-0.41 เซนติเมตร มี 1-3 ข้อ มี 2-5 ฝักต่อช่อ
การกระจายพันธุ์ :
-
พบขึ้นกระจายทั่วไปในทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ พื้นที่ป่า ป่าเบญจพรรณ สภาพดินเหนียวปนทรายปนลูกรัง
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
ชัยภูมิ
-
ลำปาง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
เขตตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
การขยายพันธุ์ :
-
ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
เอารากมาต้มดื่ม ส่วนลาต้นใบเกล็ดนามาต้มอาบน้ำ เป็นยาที่แก้อาเจียน แก้ผิดเดือน แก้ปวดท้อง