ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้เถา ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่ หรือ รูปรี กว้าง 4-11 ยาว 10-16 ซม.โคนใบมน หรือรูปตัด ขอบใบค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ปลายใบแหลม หรือเรียวแหลม แผ่นใบ หนา มัน ก้านใบยาว 1-6 ซม.บวมที่โคนและปลายของก้านใบเล็กน้อย และมักบิดงอ ดอก เดี่ยว รูปกรวย ออกที่ซอกใบ ก้านดอก ยาว 1-3 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 ซม.กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 1.6-2 ยาว 3.5-4 ซม. ขอบเรียบ ปลาย แบบ แหลม เกลี้ยง จำนวน 2 อัน ประกบกัน กลีบดอก สีม่วง เกลี้ยง รูปกรวย โคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 4 ซม. ปลายกลีบแยก 5 แฉก แต่ละแฉกรูปไข่ กว้าง 2-2.5 ยาว 2.5-3 ซม.ปลายมน โคนหลอดด้านในสีเหลือง เกสรเพศผู้ 4 อัน ยาว 1.8 ซม.ก้านชูเกลี้ยง ยาว 1 ซม.อับเรณู ยาว 8 มม.มีขนด้านเดียวหนาแน่น เกสรเพศเมีย ยาว 3-3.5 ซม. รังไข่รูปไข่ 2 เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-6 มม. ก้านชูเกสรเพศเมีย ยาว 2.5 มม. ยอดเกสรเพศเมียบานออกเป็นรูปกรวย ผล แบบแก่แล้วแตก
- ไม้เถา ยาวมากกว่า 10 ม. ใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ช่วงโคนใบบางครั้งจักตื้น ๆ ยาว 4-18 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนกลม ตัด เว้าตื้น หรือคล้ายลูกศร ขอบจักซี่ฟันตื้น ห่าง ๆ แผ่นใบเกลี้ยง เส้นโคนใบส่วนมากมีข้างละ 2 เส้น ก้านใบยาวได้ถึง 6 ซม. ช่อดอกยาวได้ถึง 30 ซม. แต่ละกระจุกมีประมาณ 4 ดอก ก้านดอกยาว 1-3 ซม. ใบประดับย่อยหุ้มกลีบเลี้ยง รูปขอบขนาน ยาวได้ถึง 3 ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วยขนาดเล็ก ขอบเกือบเรียบ มีต่อมน้ำต้อย ดอกสีม่วงอมน้ำเงินหรือสีขาว ด้านในสีครีมอมเหลือง หลอดกลีบดอกยาว 3-5 ซม. กลีบกลมหรือรูปไข่กว้าง ยาว 2-4 ซม. ก้านชูอับเรณู ยาว 0.8-1 ซม. อับเรณูยาวเท่า ๆ ก้านชูอับเรณู รังไข่เกลี้ยง ผลเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. จะงอยยาว 1.5-3 ซม.
- ไม้เถา ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่ หรือ รูปรี กว้าง 4-11 ยาว 10-16 ซม.โคนใบมน หรือรูปตัด ขอบใบค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ปลายใบแหลม หรือเรียวแหลม แผ่นใบ หนา มัน ก้านใบยาว 1-6 ซม.บวมที่โคนและปลายของก้านใบเล็กน้อย และมักบิดงอ ดอก เดี่ยว รูปกรวย ออกที่ซอกใบ ก้านดอก ยาว 1-3 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 ซม.กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 1.6-2 ยาว 3.5-4 ซม. ขอบเรียบ ปลาย แบบ แหลม เกลี้ยง จำนวน 2 อัน ประกบกัน กลีบดอก สีม่วง เกลี้ยง รูปกรวย โคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 4 ซม. ปลายกลีบแยก 5 แฉก แต่ละแฉกรูปไข่ กว้าง 2-2.5 ยาว 2.5-3 ซม.ปลายมน โคนหลอดด้านในสีเหลือง เกสรเพศผู้ 4 อัน ยาว 1.8 ซม.ก้านชูเกลี้ยง ยาว 1 ซม.อับเรณู ยาว 8 มม.มีขนด้านเดียวหนาแน่น เกสรเพศเมีย ยาว 3-3.5 ซม. รังไข่รูปไข่ 2 เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-6 มม. ก้านชูเกสรเพศเมีย ยาว 2.5 มม. ยอดเกสรเพศเมียบานออกเป็นรูปกรวย ผล แบบแก่แล้วแตก
การกระจายพันธุ์ :
- มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบทั่วไปตามชายป่าดิบ ป่าละเมาะ ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ออกดอกติดผลเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
- มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบทั่วไปตามชายป่าดิบ ป่าละเมาะ ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ออกดอกติดผลเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- อุตรดิตถ์,แพร่
- ชุมพร
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล อุตรดิตถ์, อำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย แพร่
- ป่าทุ่งระยะและป่านาสัก ชุมพร
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร,เป็นสมุนไพรถอนพิษ แก้ผื่นคันจากอาการแพ้ และถอนพิษจากการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวต้องกินยาเป็นประจำ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง
ข้อมูลภูมิปัญญา
- 3 สมุนไพรไทย ช่วยถอนพิษ ผิดสำแดง :: 3 สมุนไพรไทย ช่วยถอนพิษ ผิดสำแดง ปัจจุบัน มลภาวะในสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เราสามารถสังเกตได้ เช่น จากฝุ่น PM 2.5 ที่เราต้องเจอทุกวัน รวมถึงสารพิษที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน วันนี้ thaibiodiversity จึงได้นำเกร็ดความรู้ตัวอย่างของพืชสมุนไพรไทยที่ช่วยในเรื่องการถอนพิษ ผิดสำแดง มาแนะนำ ดังรายละเอียดต่อไปนี้รางจืด หรือ ว่านรางจืด (ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Lindl.) จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE) จัดเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น มีสรรพคุณถอนพิษ ผิดสำแดง แก้พิษเบื่อเมาจากเห็ดพิษและอาหารทะเล รวมถึงการถอนพิษจากการเมาค้าง โดยเราสามารถนำส่วนของพืชมาใช้ประโยชน์ ได้ดังน
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ