ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
พืชล้มลุก อายุปีเดียว สูง 30-50 ซม. ลำต้นเป็นเหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกรอบกิ่งเป็นวง วงละ 3 ใบ รูปไข่กลับถึงแกมขอบขนาน กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1-3 ซม. โคนใบและปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบจัก ก้านใบสั้นไม่เด่นชัด ดอกสีขาวหรือแกมสีม่วงอ่อน เป็นดอกเดี่ยวออกตากซอกใบ ขนาดดอกบาน 8-10 มม. กลีบดอก 4 กลีบ ปลายกลีบแหลม บริเวณโคนกลีบด้านในมีขนสีขาวละเอียด ก้านดอกยาว 4-8 มม. เกสรผู้ 4 อัน ตั้งบนฐานกลีบดอก เกสรเมียตอนปลายยอดเป็นปุ่มใหญ่ ผลรูปทรงกลม ขนาด 3 มม. ผิวเรียบ เกลี้ยง มีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก
-
พืชล้มลุก สูง ๒๐-๔๐ เซนติเมตร กิ่งมีหลายเหลี่ยม ใบเกลี้ยง เรียงตรงข้าม เป็นคู่ หรือเรียงรอบข้อ ๓ ใบ ขอบใบหยัก มีดอกสีขาวขนาดเล็ก ออกตามซอกใบ พบทั่วประเทศไทย ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่มชื้นในไร่นาหรือใกล้ร่องน้ำ
-
พืชล้มลุก อายุปีเดียว สูง 30-50 ซม. ลำต้นเป็นเหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกรอบกิ่งเป็นวง วงละ 3 ใบ รูปไข่กลับถึงแกมขอบขนาน กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1-3 ซม. โคนใบและปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบจัก ก้านใบสั้นไม่เด่นชัด ดอกสีขาวหรือแกมสีม่วงอ่อน เป็นดอกเดี่ยวออกตากซอกใบ ขนาดดอกบาน 8-10 มม. กลีบดอก 4 กลีบ ปลายกลีบแหลม บริเวณโคนกลีบด้านในมีขนสีขาวละเอียด ก้านดอกยาว 4-8 มม. เกสรผู้ 4 อัน ตั้งบนฐานกลีบดอก เกสรเมียตอนปลายยอดเป็นปุ่มใหญ่ ผลรูปทรงกลม ขนาด 3 มม. ผิวเรียบ เกลี้ยง มีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก
การกระจายพันธุ์ :
-
มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทางทวีปอเมริกา ปัจจุบันพบทั่วไปในเขตร้อน ขึ้นตามที่แห้งแล้ง โล่งแจ้งที่ระดับความสูงถึง 1,000 ม. ออกดอกและติดผลตลอดปี
-
มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทางทวีปอเมริกา ปัจจุบันพบทั่วไปในเขตร้อน ขึ้นตามที่แห้งแล้ง โล่งแจ้งที่ระดับความสูงถึง 1,000 ม. ออกดอกและติดผลตลอดปี
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
ถิ่นกำเนิด :
-
เขตร้อนในทวีปอเมริกา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
สมุนไพร
ที่มาของข้อมูล
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช