ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 ม. แตกกิ่งหนาแน่น มีหนามโค้งบนแกนใบประกอบระหว่างรอยต่อใบประกอบย่อย มีขนหยาบตามกิ่ง แกนก้านใบ ขอบใบ และช่อดอก แกนกลางใบประกอบยาว 11–17 ซม. เป็นเหลี่ยม ก้านใบประกอบยาว 0.8–2.8 ซม. ใบประกอบย่อยมี 10–14 คู่ ยาว 3.5–4.5 ซม. ใบย่อยมีประมาณ 45 คู่ รูปแถบแกมขอบขนาน ยาว 5–9 มม. ก้านช่อยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงบางและแห้ง ดอกรูปแตร ยาวประมาณ 3 มม. กลีบดอกรูปไข่ปลายแหลม ยาวประมาณ 1.2 มม. เกสรเพศผู้ 8 อัน รังไข่มีขนกำมะหยี่หนาแน่น ฝักรูปขอบขนานถึงรูปแถบ ยาวได้ถึง 6 ซม. ปลายมีจะงอย มีขนสากหนาแน่น
-
ไม้พุ่มอายุหลายปี มีหนามปกคลุมทั่วต้น สูง 2-4 เมตร ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยชั้นแรก 10-15 คู่ ใบย่อย ชั้นรอง 35-51 คู่ รูปขอบขนานแคบ ก้านและแกนใบมีหนาม ดอก สีม่วงแดงแกมชมพู ออกเป็นช่อกลมที่ซอกใบ ขนาดประมาณ 1.5 ซม. มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบรองดอก เป็นแผ่นบางใส กลีบดอกคล้ายเป็นหลอด ปลายกลีบแยก เกสรผู้ 8 อัน รังไข่มีขนแน่น ผล เป็นฝัก รูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย กว้าง 0.6-1 ซม. ยาวประมาณ 4-6 ซม. มีขนหรือหนามแข็งคลุม ติดกันแน่นเป็นกระจุก เมล็ดรูปไข่ สีน้ำตาลขนาดเล็ก
-
ไม้พุ่ม อายุยืน สูง ๒-๔ เมตร ลำต้นและกิ่งกลม มีหนามแหลมคม กิ่งอ่อนและใบมีขนสั้น คล้ายไมยราบเลื้อย แต่ช่อใบย่อยมี ๗-๑๔ คู่ ช่อดอกสีชมพู ทรงกลม กว้าง ๑.๕-๒ เซนติเมตร ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ติดผักรูปขอบขนานแบนด้านข้าง กว้าง ๑.๕-๒ เซนติเมตร ยาว ๖-๑๐ เซนติเมตร มีขนยาวสากคาย หนาแน่น ติดเมล็ดจำนวนมาก ๑๕-๒๐ เมล็ด/ฝัก เป็นพืชรุกรานที่รู้จักกันดี ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่มน้ำ นาข้าวทิ้งร้าง ริมอ่างเก็บน้ำ หรือริมตลิ่ง และตามข้างทางบนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร ที่มีฝนตกชุก เมล็ดมีอายุยืน แพร่กระจายไปตามน้ำ ดิน และทรายที่มีเมล็ดตกค้างแล้วถูกนำไปก่อสร้างหรือถมที่อื่น ต้นที่มีขนาดใหญ่ มีเนื้อไม้ นำมาเผาถ่านได้ดีมีคุณภาพ
-
ไม้พุ่มอายุหลายปี มีหนามปกคลุมทั่วต้น สูง 2-4 เมตร ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยชั้นแรก 10-15 คู่ ใบย่อย ชั้นรอง 35-51 คู่ รูปขอบขนานแคบ ก้านและแกนใบมีหนาม ดอก สีม่วงแดงแกมชมพู ออกเป็นช่อกลมที่ซอกใบ ขนาดประมาณ 1.5 ซม. มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบรองดอก เป็นแผ่นบางใส กลีบดอกคล้ายเป็นหลอด ปลายกลีบแยก เกสรผู้ 8 อัน รังไข่มีขนแน่น ผล เป็นฝัก รูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย กว้าง 0.6-1 ซม. ยาวประมาณ 4-6 ซม. มีขนหรือหนามแข็งคลุม ติดกันแน่นเป็นกระจุก เมล็ดรูปไข่ สีน้ำตาลขนาดเล็ก
-
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 ม. แตกกิ่งหนาแน่น มีหนามโค้งบนแกนใบประกอบระหว่างรอยต่อใบประกอบย่อย มีขนหยาบตามกิ่ง แกนก้านใบ ขอบใบ และช่อดอก แกนกลางใบประกอบยาว 11-17 ซม. เป็นเหลี่ยม ก้านใบประกอบยาว 0.8-2.8 ซม. ใบประกอบย่อยมี 10-14 คู่ ยาว 3.5-4.5 ซม. ใบย่อยมีประมาณ 45 คู่ รูปแถบแกมขอบขนาน ยาว 5-9 มม. ก้านช่อยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงบางและแห้ง ดอกรูปแตร ยาวประมาณ 3 มม. กลีบดอกรูปไข่ปลายแหลม ยาวประมาณ 1.2 มม. เกสรเพศผู้ 8 อัน รังไข่มีขนกำมะหยี่หนาแน่น ฝักรูปขอบขนานถึงรูปแถบ ยาวได้ถึง 6 ซม. ปลายมีจะงอย มีขนสากหนาแน่น
การกระจายพันธุ์ :
-
พบกระจายทั่วไปในเขตร้อน ประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ เป็นวัชพืชลุกลามตามบริเวณ พื้นที่ชุ่มชื้นริมน้ำหรือริมข้างทาง ที่ระดับความสูงถึง 1,000 เมตร ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มิถุนายน
-
พบกระจายทั่วไปในเขตร้อน ประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ เป็นวัชพืชลุกลามตามบริเวณ พื้นที่ชุ่มชื้นริมน้ำหรือริมข้างทาง ที่ระดับความสูงถึง 1,000 เมตร ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มิถุนายน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ถิ่นกำเนิด :
-
ทวีปอเมริกาใต้
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
-
ลำปาง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
สมุนไพร,เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย,งานศิลปะ,เชื้อเพลิง
-
ใช้สอย ฟืน
-
นำมาเผาถ่านได้ดีมีคุณภาพ
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
-
เนื้อไม้
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2020)
ที่มาของข้อมูล
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่อง มาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัด ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
-
IUCN Red List
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
พิพิธภัณฑ์
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |
---|---|---|---|
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |