ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้เถาชนิดเนื้อไม้แข็ง มีใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีขน ก้นใบปิด เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ต่างดอกกัน ทั้งดอกตัวผู้และตัวเมียมีสีเขียวขนาดเล็ก เมล็ดโค้งงอเป็นรูปสายยู
- ใบกว้าง 5.6-6.6 เซนติเมตร ยาว 6.9-7.6 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.4-0.6 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 6.0-6.5 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์ :
- มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย แอฟริกา และอเมริกา ในประเทศไทยพบขึ้นทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าดิบ ป่าผลัดใบ และป่าไผ่ ตามริมแม่น้ำลำธาร ตั้งแต่พื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูงประมาณ 1,100 เมตร
- พบขึ้นทั่วไปในที่รกร้างว่างเปล่า ในพื้นที่ป่าผลัดใบ ดินร่วน ดินทราย พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 80-130 เมตร
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- เป็นไม้เถาเลื้อยพัน  ใบเดี่ยว (simple) ใบเป็นแบบรูปหัวใจ (cordate) โคนใบแบบก้นปิด (peltate) หลังใบมีขนสีน้ำตาลยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปกคลุมอยู่หนาแน่นกว่าหน้าใบ ก้านใบมีขนยาว 1.7-2.5 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ (entire)  ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้ม ออกดอกที่ยอดหรือปลายกิ่ง มี 4-5 ดอกต่อช่อ ดอกย่อยแยกออกจากกัน มีขนาดเล็กสีเขียว เมล็ดรูปโค้งเหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว
ถิ่นกำเนิด :
- ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- ป่าสาธารณะ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
การขยายพันธุ์ :
- ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดและหน่อ
ข้อมูลภูมิปัญญา
- "เครือหมาน้อย" พืชพื้นบ้านชื่อน่ารัก แค่ขยำใบก็กลายเป็นวุ้น :: เครือหมาน้อย แค่ขยำใบก็กลายเป็นวุ้น เครือหมาน้อย มีชื่ออื่น ๆ ว่า กรุงเขมา กรุงบาดาล ขงเขมา พระพาย หมอน้อย หมาน้อย ก้นปิด และสีฟัน ประเทศไทยพบทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ในต่างประเทศพบที่บังกลาเทศ จีน และมาเลเซีย เครือหมาน้อยลักษณะโดยทั่วไปเป็นไม้เถาเลื้อยพัน เนื้อแข็ง ขนาดกลาง ใบเดี่ยว รูปหัวใจ รูปไต รูปกลม หรือรูปไข่ กว้าง 5.1-12.3 ซม. ยาว 4.2-11.5 ซม. มีขนปกคลุมทั่วไปทั้งบนใบและท้องของใบ ก้นใบปิด บางชนิดอาจไม่มีขน ใบขนาดเล็ก คล้ายต้นตำลึง ดอกตัวผู้และตัวเมียแยกจากกัน มีขนาดเล็ก เมล็ดโค้งงอเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีกหรือรูปเกื