ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่คำมี ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูโหล่ย ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่จางฝั่งซ้าย ป่าสงวนแห่งชาติป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
บรรยายลักษณะต้น:ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม สูงถึง 1 เมตร แตกกิ่งเหนือข้อ กิ่งอ่อนมีขนละเอียดใบ:ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่หรือไข่กลับ โคนใบมีขน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นดอก:ดอกออกเป็นช่อ ยาว 20-40 เซนติเมร ออกปลายกิ่ง มีสีแดงหรือม่วง ดอกย่อยออกเป็นกระจุกแน่นเต็มช่อ กลีบดอก 5 กลีบ แบน ปลายเป็นริ้วผล:ผลเป็นกระเปาะผิวเรียบ เมล็ดรูปทรงกระบอก ผิวเรียบเปลือก:อื่นๆ:
ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม สูงถึง 1 เมตร แตกกิ่งเหนือข้อ กิ่งอ่อนมีขนละเอียด
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่หรือไข่กลับ โคนใบมีขน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น
ดอกออกเป็นช่อ ยาว 20-40 เซนติเมร ออกปลายกิ่ง มีสีแดงหรือม่วง ดอกย่อยออกเป็นกระจุกแน่นเต็มช่อ กลีบดอก 5 กลีบ แบน ปลายเป็นริ้ว
ผลเป็นกระเปาะผิวเรียบ เมล็ดรูปทรงกระบอก ผิวเรียบ
ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม สูงถึง 1 เมตร แตกกิ่งเหนือข้อ กิ่งอ่อนมีขนละเอียด
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่หรือไข่กลับ โคนใบมีขน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น
ดอกออกเป็นช่อ ยาว 20-40 เซนติเมร ออกปลายกิ่ง มีสีแดงหรือม่วง ดอกย่อยออกเป็นกระจุกแน่นเต็มช่อ กลีบดอก 5 กลีบ แบน ปลายเป็นริ้ว
ผลเป็นกระเปาะผิวเรียบ เมล็ดรูปทรงกระบอก ผิวเรียบ
-
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 ม. กิ่งเป็นเหลี่ยมมน มีขนสั้นนุ่มตามกิ่งอ่อน แผ่นใบ และช่อดอก ใบเรียงตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ยาว 2–10 ซม. ปลายกลม แหลม หรือแหลมยาว โคนเรียวสอบ แผ่นใบบางครั้งเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 0.5–1.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 50 ซม. แกนช่อเป็นเหลี่ยม ดอกออกเดี่ยว ๆ บนแกนช่อ ใบประดับแห้งบาง ติดทน รูปไข่ ปลายเรียวแหลม ยาว 2–3 มม. ใบประดับย่อย 2 อัน แนบติดกลีบรวมคล้ายหนาม ยาว 3–4 มม. โคนมีเยื่อบาง ๆ กลีบรวม 4–5 กลีบ รูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาวประมาณ 5 มม. เกสรเพศผู้มี 2–5 อัน แผ่นเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 5 อัน มีเกล็ด ขอบจักชายครุย รังไข่เกลี้ยง มีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียยาว 2–3.5 มม. ผลแบบกระเปาะ ปลายตัด เปลือกบาง ยาว 2.5–3 มม. เมล็ดรูปทรงกระบอก
-
สูงประมาณ 30 - 100 ซม. หรือมากกว่า แตกกิ่งก้านเป็นคู่ๆ และสามารถทอดกิ่งนอนไปตามพื้นดินแล้วเกิดรากบริเวณข้อได้ ใบเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนานหรือไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลมถึงกลม
การกระจายพันธุ์ :
-
พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณ เต็งรัง พบในประเทศเขตร้อนทั่วไปรวมถึงออสเตรเลีย และได้มีการนำไปปลุกในแถบเขตร้อนของอเมริกาใต้
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำบึงราชนก/พิษณุโลก
-
ลำปาง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ล้มลุก
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
ต้นใช้ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ดอกแก้เสมหะ
ที่มาของข้อมูล
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช