ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ต้นขนาดใหญ่สูง 15-25 เมตร อิงอาศัยหรืออาจจะไม่อิงอาศัย เมื่ออิงอาศัยมักจะหยั่งรากค้ำยันลงดิน ทำให้เกิดเป็นหลายลำต้น แตกกิ่งก้านด้านข้างกว้างขวางมาก รากอากาศมาก เปลือกสีน้ำตาล เปลือกในสีขาวมีน้ำยางสีขาวขุ่น ใบ เดี่ยวเรียงเวียนสลับ ปลายใบมักจะป้านหรือสอบแหลมเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ใบแก่เหนียว หลังใบสีเขียวเข้มและเป็นมัน ดอก แบบช่อมีลักษณะคล้ายผล ไม่มีก้าน มักออกดอกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นคู่ตามง่ามใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ผล แบบผลมะเดื่อ ค่อนข้างกลม ป่องตอนปลายคล้ายตุ่มน้ำ มีเนื้ออวบน้ำ สีเขียวอ่อนมีจุดนูนสีขาว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน สีม่วงคล้ำถึงดำ ภายในประกอบด้วยผลย่อยแบบผลเมล็ดเดียวแข็ง ขนาดเล็กจำนวนมาก ออกดอกและผลระหว่างเดือนกันยายน-มกราคม
- ไม้ต้น บางครั้งรอเลื้อย กึ่งอาศัยหรือขึ้นบนพื้นดิน สูงได้ถึง 30 ม. หูใบยาว 0.5–1.5 ซม. ร่วงเร็ว ใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับเกือบกลม ยาว 2–14 ซม. ขอบใบหนาช่วงโคน แผ่นใบหนา เส้นโคนใบ 1 คู่ เห็นชัดเจน เส้นแขนงใบย่อยเรียงขนานกัน มีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ ก้านใบยาว 0.5–3 ซม. ดอกอยู่ภายในฐานดอกที่ขยายออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ตามซอกใบ รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–1 ซม. สุกสีชมพูหรือม่วงอมดำ ไร้ก้าน ช่องเปิดกว้าง 1.5–2 มม. มีขนด้านใน ใบประดับด้านบน 3 อัน เรียงซ้อนเหลื่อม กลีบรวมด้านในสีแดง ขอบสีขาว (สกุลย่อย Urostigma)
- ไม้ต้นขนาดใหญ่สูง 15-25 เมตร อิงอาศัยหรืออาจจะไม่อิงอาศัย เมื่ออิงอาศัยมักจะหยั่งรากค้ำยันลงดิน ทำให้เกิดเป็นหลายลำต้น แตกกิ่งก้านด้านข้างกว้างขวางมาก รากอากาศมาก เปลือกสีน้ำตาล เปลือกในสีขาวมีน้ำยางสีขาวขุ่น
ใบ : เดี่ยวเรียงเวียนสลับ ปลายใบมักจะป้านหรือสอบแหลมเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ใบแก่เหนียว หลังใบสีเขียวเข้มและเป็นมัน
ดอก : แบบช่อมีลักษณะคล้ายผล ไม่มีก้าน มักออกดอกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นคู่ตามง่ามใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น
ผล : แบบผลมะเดื่อ ค่อนข้างกลม ป่องตอนปลายคล้ายตุ่มน้ำ มีเนื้ออวบน้ำ สีเขียวอ่อนมีจุดนูนสีขาว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน สีม่วงคล้ำถึงดำ ภายในประกอบด้วยผลย่อยแบบผลเมล็ดเดียวแข็ง ขนาดเล็กจำนวนมาก ออกดอกและผลระหว่างเดือนกันยายน-มกราคม
ระบบนิเวศ :
- พบตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะ ตามชายฝั่ง ปากแม่น้ำลำคลอง น้ำกร่อย และเขาหินปูน
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- สมุทรปราการ
- นครศรีธรรมราช
- สมุทรปราการ
- ลพบุรี
- อุทัยธานี, กาญจนบุรี, ตาก
- อุทัยธานี, กาญจนบุรี, ตาก
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- บางกระเจ้า
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- เกาะกระ
- พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซับลังกา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
- ราก เปลือกต้น ใบ ยาง ผล
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- ราก : เป็นส่วนผสมของครีมทาแก้โรคปวดข้อ เท้าบวม เถ้าที่เกิดจากการเผา ใช้แก้ปวดฟัน เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะผิดปกติ แก้ตกเลือด บำรุงน้ำนม แก้โรคระดูขาว แก้โรคหนองใน แก้วัณโรค ลดไข้ และใช้ รักษาแผล เปลือกต้น : แก้วัณโรคและลดไข้ น้ำคั้นจากเปลือกแก้โรคตับ ทาแผลฟกช้ำ ใบ : ใช้พอกกระดูกแตก ต้มแก้โรคตาแดง ผล ในจีนใช้หมักในน้ำกระสาย ยาหรือสุรา ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก เป็นยาระงับปวดแผลฟกช้ำ แก้โรคมะเร็ง แก้ท้องเสีย รักษาฝี แก้บวม แก้ตกเลือด ขับพยาธิ ใช้รักษาแผล ยาง : ใส่บาดแผล ขับพยาธิ แก้โรคมะเร็ง ผล : ในจีนใช้หมักในน้ำกระสายยาหรือสุราใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก เป็นยาระงับปวดแผล ฟกช้ำ แก้ท้องเสีย รักษาฝี แก้บวม แก้ตกเลือด ขับพยาธิ
- สมุนไพร,ไม้ดอกไม้ประดับ
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2019)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ