ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นกขนาดกลางจนถึงขนาดกลาง-ใหญ่ (51-71 ซม.) ลักษณะเด่น คือ มีหงอน ขนยาว
ยื่นออกมาจากหัวและท้ายทอย ด้านบนและด้านล่างลำตัวสีน้ำตาล มีลายจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป หนังจมูกสีเหลือง
- หนังรอบตาและหนังคลุมจมูกมีสีเหลือง ปลายปากดำ ท้ายทอยมีหงอนสั้นๆ ส่วนปลายมีแต้มจุดขาว ปกติราบไปกับหัวหัวและลำตัวสีน้ำตาลเข้มลำตัวด้านล่างสีอ่อนกว่า มีจุดขาวขอบดำกระจาย ขณะบินลำตัวด้านล่างและขนคลุมใต้ปีกสีน้ำตาลเข้มมีลายจุดขาวกระจาย ขนปีกบินสีดำมีแถบขาวใหญ่พาดกลาง หางสีดำมีแถบสีขาวใหญ่พาดกลางนกไม่เต็มวัยมี แถบตาใหญ่สีน้ำตาล หัวและลำตัวด้านล่างสีขาวแกมน้ำตาลอ่อน อกและท้องมีจุดใหญ่กระจาย สีข้างมีลายขวาง หัวและลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลมีลายเกล็ดจากขอบขนสีอ่อน ปีกมีลายแถบแคบๆ สีเข้ม
ระบบนิเวศ :
- พบตามป่าทั่วๆ ไป ชอบร่อนไปในอากาศเรื่อยๆ ในระดับสูงปานกลาง เกาะตามกิ่งไม้ และต้นไม้ต่างๆ อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ งู กิ้งก่า แย้ บางครั้งก็เป็นนก กบ แมลง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอื่นๆ
- ป่าดิบและป่าเบญจพรรณ
- ระบบนิเวศภูเขา
- ระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น, ภูเขาหินทรายปกคลุมไปด้วยป่าและลานหิน
- ระบบนิเวศป่าไม้
- ระบบนิเวศภูเขา
- พื้นที่เปิดโล่งใกล้น้ำ
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี, อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร (ภูผาเติบ)
- เลย
- มุกดาหาร
- พะเยา
- น่าน
- กระบี่
- กระบี่, เพชรบูรณ์, ชุมพร, พะเยา, สุราษฎร์ธานี, ระนอง, อุตรดิตถ์, ลำปาง, ลำพูน, นครสวรรค์, เชียงราย
- ยะลา,ปัตตานี
- สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- สระแก้ว
- บุรีรัมย์, สระแก้ว
การขยายพันธุ์ :
- ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ -พฤษภาคม ทำรังตามต้นไม้ เป็นรังแบบง่ายๆ ใช้กิ่งไม้ซ้อนทับกัน ไข่สีครีมหรือขาวแกมเหลือง ในแต่ละรังจะมีไข่เพียงหนึ่งฟอง ระยะเวลาเวลาฟักไข่ 26-28 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าภูหลวง
- ภูผาเทิบ
- บริเวณบ้านปางพริก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง
- บ้านดอยติ้ว ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
- ป่าคลองกาโหรด และป่าคลองหิน กระบี่, ป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ เพชรบูรณ์, ป่าทุ่งระยะและป่านาสัก ชุมพร, ป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว พะเยา, ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม สุราษฎร์ธานี, ป่าละอุ่น และป่าราชกรูด ระนอง, ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา อุตรดิตถ์, ป่าแม่จางฝั่งซ้าย ลำปาง, ป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร ลำพูน, ป่าแม่วงก์ - แม่เปิน นครสวรรค์, ป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว เชียงราย
- พรุลานควาย
- อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
- อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
การกระจายพันธุ์ :
- นกประจำถิ่น
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- อื่นๆ
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล
ข้อมูลสภานภาพ CITES

CITES โลก

- บัญชีหมายเลข II (ประกาศใช้เมื่อ 2013-06-12)

CITES ไทย

- บัญชีหมายเลข II

พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ