ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
นกยางโทนน้อยมีรูปร่างคล้ายนกยางเปีย และนกยางโทนใหญ่ เมื่อเทียบกันแล้วจะมีขนาดใหญ่กว่านกยางเปีย แต่เล็กกว่านกยางโทนใหญ่ ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกยางโทนน้อยจะมีขนสร้อยที่หน้าอก ซึ่งนกยางโทนใหญ่ไม่มี ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ขนตามลำตัวสีขาว ผิวหนังบริเวณใบหน้ามีสีเหลืองหรือเหลืองแกมเขียว คอยาว ปากยาวแหลมสีเหลือง ขาและนิ้วเท้าดำ ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตอนปลายปากจะเป็นสีดำโดยบริเวณโคนยังเป็นสีเหลืองอยู่ และจะมีขนละเอียดแตกเป็นฝอยสีขาวบริเวณอกและหลัง ขนเหล่านี้จะหลุดร่วงไปเมื่อพ้นฤดูผสมพันธุ์
-
คล้ายนกยางโทนใหญ่ แต่ตัวเล็กกว่า หัวกลมกว่า คอหนาและสั้นกว่า หนังหน้าสีเหลือง ปากเหลือง ปลายมักดำ มุมปากระดับเดียวกับตำแหน่งดวงตา ขาและตีนสีดำ ชุดขนผสมพันธุ์ หนังหน้าสีเขียวแกมเหลือง ปลายปากดำมากขึ้นอาจถึงครึ่งปาก ขนเจ้าชู้ที่อกและหลังยาวมากขึ้น โดยเฉพาะขนอกยาวกว่านกยางโทนใหญ่ ขาและตีนสีดำ เสียงร้อง "กว้าก" หรือ "กู-ว้าก"
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พบในแอฟริกา อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย พม่า ไทยลาว เขมร เวียดนาม สำหรับประเทศไทยพบเกือบทุกภาค เป็นนกอพยพมาในฤดูหนาว
แหล่งน้ำต่างๆ เช่น ทุ่งนา บึง ทะเลสาบ ป่าชายเลน และนาเกลือ
แหล่งน้ำต่างๆ เช่น ทุ่งนา บึง ทะเลสาบ ป่าชายเลน และนาเกลือ
-
อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
-
อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเมี่ยง-ภูทอง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองนาคา
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
-
ป่าคลองกาโหรด และป่าคลองหิน กระบี่, ป่าทุ่งระยะและป่านาสัก ชุมพร, ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม สุราษฎร์ธานี
-
พรุลานควาย
-
เชียงราย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
-
นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
-
บุรีรัมย์, สระแก้ว
-
พิษณุโลก
-
สุราษฎร์ธานี, ระนอง
-
กระบี่
-
สมุทรปราการ
-
กรุงเทพมหานคร
-
กรุงเทพมหานคร
-
กระบี่, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี
-
ยะลา,ปัตตานี
-
ลุ่มน้ำอิงตอนล่าง
-
สถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
ระบบนิเวศ :
-
ทุ่งหญ้า นาข้าว แอ่งน้ำขังในพรุ
-
ระบบนิเวศแมน้ำ หนองน้ำ พื้นที่ชุมน้ำ
การกระจายพันธุ์ :
-
นกอพยพ
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล
-
องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูถัมป์
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2563.
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)
-
กรมป่าไม้
-
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในพรุลานควาย, โครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนและเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูพรุลานควายอย่างยั่งยืน, กองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อม, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
คู่มือจำแนกชนิดพันธุ์นกน้ำ ในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำอิงตอนล่าง, 2566, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
IUCN Red List
-
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี (สถานตากอากาศบางปู)