ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นกขนาดเล็ก (21-22 ซม.) ร่างกายเรียวหางยาวและเรียว กระหม่อมตอนหน้า คอหอย และคอด้านข้างสีเทา ด้านบนลำาตัวสีน้ำตาลอ่อนมีลายพาดสีดำ ไม่ค่อยเป็นระเบียบ หางเป็นหางบั้ง ปลายหางและขนทางด้านนอกสีขาว ปากสีเทาแกมน้ำเงิน ขาและนิ้วสีแดงเข้ม
- คล้ายนกเขาใหญ่แต่เล็กกว่า ลำตัวสีน้ำตาลแกมเทา มีลายขวางสีดำที่คอ ลำตัวและปีก ขาและตีนสีแดง เพศผู้บริเวณหน้าสีเทาแกมฟ้า ข้างคอสี่เทา เพศเมีย หน้าสีน้ำตาลมากกว่า มีลายถึงอกและท้อง
- มีขนาดประมาณ 21-21.5 เซนติเมตร ลำตัวสีน้ำตาลแกมเทา มีลายขวางสีดำที่คอ ลำตัวและปีก แข้งและตีนแดง ตัวผู้ หน้าสีเทาแกมฟ้า ข้างคอเทา ตัวเมีย หน้าสีน้ำตาลมากกว่า มีลายตั้งแต่อกถึงท้อง
ระบบนิเวศ :
- พบทั่วไปตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะ ในเมืองหรือหมู่บ้าน สวนผลไม้ ทุ่งนา ทุ่งหญ้าและบริเวณที่กสิกรรมต่างๆ หากินตามพื้นดินโดยกินเมล็ดธัญพืชและเมล็ดหญ้าต่างๆเป็นอาหาร เป็นนกที่นิยมเลี้ยงกันมาก การร้องหรือการขันของนกเขาขวา เป็นการร้องหรือขันเพื่อประกาศอาณาเขตหรือดึงดูดเพศตรงข้ามเพื่อการผสมพันธุ์
- สวนและชุมชน พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่เปิดโล่งต่างๆ
- ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน
- ระบบนิเวศเกษตร
- ระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น, ภูเขาหินทรายปกคลุมไปด้วยป่าและลานหิน
- ระบบนิเวศป่าไม้
- ระบบนิเวศเกษตร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี, อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร (ภูผาเติบ)
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- เชียงใหม่,ตาก,กำแพงเพชร
- เชียงใหม่
- อุบลราชธานี
- พะเยา
- น่าน
- ฉะเชิงเทรา
- สถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
การขยายพันธุ์ :
- ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ทำรังง่ายๆ โดยใช้กิ่งไม้เล็กๆ และต้นหญ้ามาวางซ้อนกัน ตามง่ามของต้นไม้ ส่วนนกเขาชวาที่เพาะเลี้ยงจะผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ไข่สีขาว แต่ละรังมีไข่ 2 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 12-13 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ลุ่มน้ำปิง, แม่น้ำแม่งัด แม่น้ำปิง คลองสวนหมาก แม่น้ำปิงตอนล่าง
- พื้นที่เกษตรดอยอินทนนท์และอำเภอจอมทอง
- ผาแต้ม
- บริเวณบ้านปางพริก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง
- พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน อำเภอท่าวังผา และพื้นที่ใกล้เคียง
- ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย, ป่าสงวนแห่งชาติป่าสาลีก, ป่าสงวนแห่งชาติป่ากุดจับ, ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภู, ป่าเขาผาลาด, ป่าหนองแปน, ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูสีฐาน(ป่าภูผาซาน), ป่าสงวนแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือและป่ายางน้ำกลัดใต้, ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง, ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังใหญ่และป่าแม่น้ำน้อย, ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูโหล่ย, ป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาแม่นางขาว, ป่าสงวนแห่งชาติป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่, ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่-ป่าเขาไฟไหม้), ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเป้ง, ป่าสงวนแห่งชาติป่าสีสุก, ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงโพนทราย, ป่าสงวนแห่งชาติป่านาซาวฝั่งซ้ายถนนแพร่-น่าน, ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองปะเหลียนและป่าคลองท่าบ้า, ป่าสงวนแห่งชาติป่าควนออกบ้านน้ำตก, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่คำมี, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่จางฝั่งซ้าย, ป่าสงวนแห่งชาติป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่วงก์ – แม่เปิน , ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- อาหาร, เลี้ยงไว้ดูเล่น
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
NSM Chon buri
NSM Nakhon pathom
NSM Samut prakan
NSM Ranong
NSM Ranong
NSM Nakhon pathom
NSM Pathum thani
NSM Pathum thani
NSM Chiang mai
NSM Chiang mai
NSM Chiang mai
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ