ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นก
- นกขนาดเล็กมาก (9 ซม.) ทั้งสองเพศจะมีแถบสีขาวแกมสีเนื้อตรงกลางด้านล่างลำตัว ตัวผู้ด้านบนลำตัวสีแดง โดยบริเวณปีก หาง ด้านข้างของหัว และลำตัวสีดำ ตัวเมียด้านบนลำตัวสีเขียว ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีแดง
- นกเพศผู้ ข้างหัว อกตอนบน หลังและหางมีสีดำ หน้าผากถึงตะโพกเป็นแถบยาวสีแดงสด คอ กลางอกและลำตัว
ด้านล่างสีขาว สีข้างเทาแกมดำ นกเพศเมีย หัวและลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ปีกและหางสีดำ ตะโพกและขนคลุมหางสีแดงสด ลำตัวด้านล่างสีขาวแกมเทา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ตัวผู้ : ข้างหัว อกตอนบน หลัง และหางดำ หน้าผากถึงตะโพกเป็นแถบยาวสีแดงสด คอ กลางอก และลำตัวด้านล่างขาว สีข้างเทาแกมดำ ตัวเมีย : หัวและลำตัวด้านบนน้ำตาล ปีกและหางดำ ตะโพกและขนคลุมหางแดงสด ลำตัวด้านล่างขาวแกมเทา
ระบบนิเวศ :
- ป่าโปร่ง ชายป่า สวนผลไม้ สวนสาธารณะ ที่ราบถึงความสูง 1,220 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
- พบตามป่าต่างๆ ทุ่งโล่ง และสวนผลไม้ เป็นนกที่ไม่ค่อยหยุดนิ่ง มักจะกระโดดจากกิ่งไม้หรือยอดไม้ สลับกับการบินไปยังต้นไม้อื่นๆ เสมอ! กินน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหารโดยเฉพาะดอกกาฝาก นอกจากนี้ก็ยังกินแมลง และตัวหนอนอีกด้วย
- ป่าโปร่ง ชายป่า สวนผลไม้ สวนสาธารณะ
- ระบบนิเวศเกาะ
- ระบบนิเวศเกษตร
- ระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น, ภูเขาหินทรายปกคลุมไปด้วยป่าและลานหิน
- ระบบนิเวศป่าไม้
- ระบบนิเวศแห้งแล้งและกึ่งชื้น
- ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน
- ระบบนิเวศเกษตร
- สวนยาง ทุ่งหญ้า ชายป่า ป่ายางแดง นาข้าว
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี, อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร (ภูผาเติบ)
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- สุราษฏร์ธานี
- นนทบุรี
- มุกดาหาร
- พะเยา
- น่าน
- อุตรดิตถ์,แพร่,น่าน,พะเยา
- น่าน
- กระบี่
- สมุทรปราการ
- นนทบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- นนทบุรี
- กรุงเทพมหานคร
- กรุงเทพมหานคร
- กระบี่, พะเยา, สุราษฎร์ธานี, ระนอง, อุตรดิตถ์, แพร่, ลำปาง, ลำพูน, นครสวรรค์, เชียงราย
- ยะลา,ปัตตานี
- สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- สระแก้ว
- บุรีรัมย์, สระแก้ว
- สถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
การขยายพันธุ์ :
- ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม รังเป็นรูปกะเปาะ ห้อยหรือแขวนตามกิ่งไม้ต่างๆ มีทางเข้าออกทางด้านข้าง วัสดุที่ใช้ทำรังประกอบด้วยดอกหญ้า ใบไม้ ใบหญ้า และใยแมงมุม ในแต่ละรังมีไข่ 3 ฟอง ไข่นวล ระยะเวลาฟักไข่
12-13 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
- พื้นที่เกษตรกรรม
- ภูผาเทิบ
- บริเวณบ้านปางพริก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง
- อำเภอเวียงสา และพื้นที่ใกล้เคียง
- ลุ่มน้ำอิง,ลุ่มน้ำยม,ลุ่มน้ำน่าน
- พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน อำเภอท่าวังผา และพื้นที่ใกล้เคียง
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ป่าคลองกาโหรด และป่าคลองหิน กระบี่, ป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว พะเยา, ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม สุราษฎร์ธานี, ป่าละอุ่น และป่าราชกรูด ระนอง, ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา อุตรดิตถ์, ป่าแม่คำมี แพร่, ป่าแม่จางฝั่งซ้าย ลำปาง, ป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร ลำพูน, ป่าแม่วงก์ - แม่เปิน นครสวรรค์, ป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว เชียงราย
- พรุลานควาย
- อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
- อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
การกระจายพันธุ์ :
- นกประจำถิ่น
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ