ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
พืชล้มลุกมีไหลและเหง้าใต้ดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนลอยปริ่มน้ำ ใบแก่จะชูพ้นน้ำได้สูรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 50 ซม. ผิวด้านบนมีนวลเคลือบ ก้านใบมีตุ่มเล็กๆ ทั่วไป ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีขาวหรือสีชมพู กลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ คล้ายกับกลีบดอก กลีบดอกหลายกลีบเรียงตัวชั้นเดียว หรือซ้อนกันหลายชั้น รูปไข่กว้าง 5-6 ซม. ยาว 7-9 ซม. บานเต็มที่ขนาด 20-25 ซม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีเหลืองยาว 4-5 ซม. ล้อมรอบ ฐานรองดอกรูปกรวยหงาย ปลายตัดเกสรเพศเมียมีรังไข่ฝังอยู่ที่ฐานรองดอก เมื่ออ่อนมีสีเหลือง แก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ช่องรังไข่เรียงเป็นวงบนผิวหน้าตัด จำนวน 5-15 อัน ผล เป็นผลกลุ่มเรียกว่าฝัก ผลย่อยรูปรี เมล็ดกว้าง 1 ซม.
-
ไม้น้ำล้มลุก มีรากสะสมอาหาร เหง้าแยกแขนง (ไหลบัว) ใบแตกตามข้อ ใบแก่อยู่เหนือผิวน้ำ กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 25–90 ซม. ขอบเรียบ ผิวใบด้านบนมีไขเคลือบ เส้นแขนงใบออกจากโคน 25–30 เส้น ก้านใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.5 ซม. ยาว 1–2 ม. ด้านในมีเส้นใยสีขาว ด้านนอกมีตุ่มกระจายหรือเกลี้ยง ปลายก้านใบติดกับแผ่นใบแบบก้นปิดที่กลางใบ ดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ดอกตูมรูปไข่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5–8 ซม. ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 17–30 ซม. ดอกบานช่วงกลางวัน สีขาวหรือชมพู ก้านดอกยาวกว่าก้านใบ กลีบรวมจำนวนมาก วงนอกลดรูป รูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 5–10 ซม. ฐานดอกรูปลูกข่าง เส้นผ่านศูนย์กลาง 5–10 ซม. สีเขียวอ่อน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดที่โคนฐานดอก อับเรณูสีเหลืองรูปแถบ ยาว 1–2 ซม. แกนอับเรณูปลายมีรยางค์รูปกระบอง ยาวได้ถึง 7 มม. อันที่เป็นหมันคล้ายกลีบดอก รังไข่จำนวนมากฝังในฐานดอก มีช่องเดียว ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม สีเหลือง ผลกลุ่ม ผลย่อยคล้ายผลแบบเปลือกแข็ง แห้งไม่แตก รูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 1–2 ซม.
-
พืชล้มลุกมีไหลและเหง้าใต้ดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนลอยปริ่มน้ำ ใบแก่จะชูพ้นน้ำได้สูรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 50 ซม. ผิวด้านบนมีนวลเคลือบ ก้านใบมีตุ่มเล็กๆ ทั่วไป ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีขาวหรือสีชมพู กลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ คล้ายกับกลีบดอก กลีบดอกหลายกลีบเรียงตัวชั้นเดียว หรือซ้อนกันหลายชั้น รูปไข่กว้าง 5-6 ซม. ยาว 7-9 ซม. บานเต็มที่ขนาด 20-25 ซม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีเหลืองยาว 4-5 ซม. ล้อมรอบ ฐานรองดอกรูปกรวยหงาย ปลายตัดเกสรเพศเมียมีรังไข่ฝังอยู่ที่ฐานรองดอก เมื่ออ่อนมีสีเหลือง แก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ช่องรังไข่เรียงเป็นวงบนผิวหน้าตัด จำนวน 5-15 อัน ผล เป็นผลกลุ่มเรียกว่าฝัก ผลย่อยรูปรี เมล็ดกว้าง 1 ซม.
การกระจายพันธุ์ :
-
มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือการแยกไหล
-
มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือการแยกไหล
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
-
ลำปาง
-
พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
จัดสวน ดอกใช้ประดับ, ปลูกประดับและจัดแต่งสวน
-
อาหาร ไม้ประดับ บูชาพระ
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
-
อาหาร,ทำยา,ไม้ประดับ
ที่มาของข้อมูล
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน (Inland Water Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)