ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- ศรีราชา, ชลบุรี, ภูเก็ต, อ่าวไทย
- พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- อ่าวไทย ทะเลอันดามัน
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- - ขนาดความยาว สูงสุด 144 ชม. ขนาดทั่วไปที่พบ 50-90 ชม. ขนาดสมบูรณ์เพศของเพศผู้ 68-76 ชม. เพศเมีย 63-87 ซม. และขนาดแรกเกิด 13-18 ชม.
- ขอบท้ายครีบหลังทั้งสองอันและปลายหางเว้าเข้าหาตัวครีบ จุดเริ่มของครีบหลังอันแรกอยู่เหนือและค่อนมาทางจุดเริ่มต้นของครีบท้อง มีสันนูนตามยาวถึงตอนท้ายครีบหลั่งอันแรก ลำตัวสีน้ำตาล หรือเทา
อาจมีจุดสีดำขนาดเล็กกระจายตามตัว ด้านท้องสีขาว และในปลาขนาดเล็กมีแถบขวางสีน้ำตาลเข้มที่ลำตัว
- เป็นชนิดที่ออกลูกเป็นไข่ ครั้งละ 2 ฟอง ซึ่งไข่มีลักษณะเป็นกระเปาะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดความยาว 15 ซม.และกว้าง 11 ชม. ที่ปลายจะมีเส้นใยสำหรับยึดเกาะวัตถุใต้น้ำ โดยแม่ปลาจะวางไข่ตามกองหินใต้น้ำ หรือตามกอสาหร่ายทะเล ตัวอ่อนเจริญเติบโตและฟักออกจากไขใช้เวลา 3-5 เดือน ปลาที่โตเต็มวัยมีอายุประมาณ 14 ปี ส่วนใหญ่กินปลาขนาดเล็ก ปลาหมึก หอย กุ้งและปูเป็นอาหาร
- เป็นปลาฉลามขนาดเล็ก ลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนหัวค่อนข้างแบนลงเล็กน้อย ส่วนหัวค่อนข้างกลมมน ตาอยู่ทางด้านบนในแนวข้างของส่วนหัว ช่อง spiracle มีขนาดใหญ่เกือบเท่าตาอยู่ทางด้านหลังหรือตํ่ากว่าขอบล่างของตาเพียงเล็กน้อย ช่องเปิดของจมูกสั้น มีร่องเชื่อมระหว่างจมูกกับปาก ปากมีขนาดเล็กตำแหน่งเปิดในแนวขวางของส่วนหัวอยู่ทางด้านหน้าของตา ฟันบนขากรรไกรมีรูปร่างหลากหลาย หนวดที่จมูกสั้น ช่องเปิดเหงือกมีขนาดเล็ก มีจำนวน 5 ช่อง โดยช่องที่ 4 เหลื่อมซ้อนอยู่กับช่องที่ 5 ครีบหลังทั้งสองตอนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหลังตอนแรกอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง จุดเริ่มต้นของครีบหลังตอนที่สองอยู่หน้าจุดกำเนิดของครีบก้น ครีบหูมีขนาดเล็กและกลม ครีบก้นกลมมีขนาดเล็กและสั้นแยกออกจากครีบหางด้วยร่องตื้นๆ ครีบหางยาว ในช่วงระยะวัยรุ่น มีพื้นลำตัวสีเทาดำและมีลายขวางสีเข้มพาดผ่าน แต่เมื่อโตเป็นตัวเต็มวัย ลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลเทา ไม่มีลายขวาง มักมีจุดสีดำขนาดเล็กกระจายอยูทั่วลำตัว
ระบบนิเวศ :
- บริเวณพื้นท้องทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลนตามชายฝั่งทะเล และกองหินใต้น้ำตามแนวปะการังถึงระดับความลึกน้ำ 85 เมตร
การกระจายพันธุ์ :
- ในเขตน่านน้ำไทย พบทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
- บริเวณอ่าวไทยตอนใน
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
- เนื้อนำมาบริโภคหรือแปรรูปทำปลาหวาน ลูกขึ้น และากแห้ง ครีบใช้ทำหูฉลามตากแห้ง ตับใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ ส่วนปลาที่มีชีวิตสามารถนำมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม Near Threatened: NT (IUCN, 2016)