ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นกขนาดเล็กมาก (14 ซม.) ตัวผู้ร่างกายสีดำ มีลายพาดสีขาวที่ปีกและขนคลุม โคนขนหางด้านบน ตัวเมียไม่มีลายสีขาวที่ปีก มีลายขีดเล็กน้อยทางด้านบนลำตัว ลายขีดทางด้านล่างลำตัวไม่เด่นชัด ขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีสนิม
- นกเพศผู้ หัวและลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ส่วนหัวแกมสีดำที่หัวตา ขนคลุมหู คางและอกตอนบน หลัง สีแกมน้ำตาลเข้มแกมเทา มีลายสีคล้ำ อกสีน้ำตาลแดงเพศผู้ขนชุดผสมพันธุ์ หัว คอ สี ดำ ลำตัว ด้านบนดำมีลายน้ำตาลจางๆ ข้างคอและแถบปีกสีขาว ตะโพกสีขาวปลายจนคลุมตะโพกสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแกมสัม อกสีน้ำตาลแดงเข้มขึ้น หางสีดำ ชนิดย่อยประจำถิ่น przewalski อกและท้อง
สีน้ำตาลแดงเข้ม นกเพศเมีย คล้ายตัวผู้นอกฤดูผสมพันธุ์แต่ คอและก้นแกมขาว ตะโพกน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง
ระบบนิเวศ :
- พบตามพุ่งหญ้า ป่าละเมาะ และพื้นที่กสิกรรมต่างๆ มักพบเกาะอยู่บนยอดหญ้ายอดไม้พุ่ม อาหารได้แก่ แมลงต่างๆ โดยจะบินลงมาโฉบจับบนพื้นดิน บางครั้งก็โฉบจับกลางอากาศใกล้ๆ กับที่เกาะ
- ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรมเปิดโล่ง
- ระบบนิเวศเกษตร
- ระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น, ภูเขาหินทรายปกคลุมไปด้วยป่าและลานหิน
- ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน
- ระบบนิเวศเกษตร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี, อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร (ภูผาเติบ)
- เชียงใหม่
- อุบลราชธานี
- อุตรดิตถ์,แพร่,น่าน,พะเยา
- น่าน
- นนทบุรี
- พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
การขยายพันธุ์ :
- ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ทำรังด้วยใบหญ้า มอสซ์ รากฝอย และสารเยื่อใยต่างๆ เป็นรูปถ้วย ตามโคนไม้พุ่มเกือบติดดิน ไข่สีน้ำเงินจางมีลายขีด ลายดอกดวงสีน้ำตาลแกมแดง ในแต่ละรังมีไข่ 4-5 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 13 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่เกษตรดอยอินทนนท์และอำเภอจอมทอง
- ผาแต้ม
- ลุ่มน้ำอิง,ลุ่มน้ำยม,ลุ่มน้ำน่าน
- พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน อำเภอท่าวังผา และพื้นที่ใกล้เคียง
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ