ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นกขนาดเล็กถึงกลาง (45 ซม.) ปากสีดำเรียวแหลมและโค้งเล็กน้อย หางยาวและเป็นหางบึ้ง ด้านบนลำตัวและหงอนขนยาวที่หัวสีดำ ปีกสีน้ำตาลแดง มีแถบสีขาวบริเวณคอด้านบน ด้านล่างลำตัวสีขาว บริเวณคอหอยและอกเป็นสีเนื้อแกมน้ำตาลแดง ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีดำ
ระบบนิเวศ :
- พบตามป่าโปร่ง หรือตามหมู่บ้านและสวน หากินตามกิ่งก้านของต้นไม้ที่มีใบค่อนข้างแน่นทึบ บางครั้งก็จะมาเกาะกิ่งไม้พื้นล่าง หรือไม้พุ่มเพื่อจ้องหาอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ตัวหนอนและแมลงต่างๆ
- ระบบนิเวศป่าไม้
- สวนยาง ชายป่า ป่ายางแดง
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- พะเยา
- นนทบุรี
- ระนอง, อุตรดิตถ์, นครสวรรค์
- ยะลา,ปัตตานี
- สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
- สระแก้ว
- พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
การขยายพันธุ์ :
- การผสมพันธุ์ เป็นนกปรสิต ไม่สร้างรัง ฟักไข่และเลี้ยงลูกของตนเอง ฤดูผสมพันธุ์ ขึ้นอยู่กับฤดูผสมพันธุ์ของนกเจ้าของรังที่มันไปขโมยวางไข่ ไข่สีน้ำเงินจาง ปกติวางไข่ ในรังหนึ่งๆ ไม่เกิน 2 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ปกติสั้นกว่านกเจ้าของรัง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- บริเวณบ้านปางพริก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง
- ป่าละอุ่น และป่าราชกรูด ระนอง, ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา อุตรดิตถ์, ป่าแม่วงก์ - แม่เปิน นครสวรรค์
- พรุลานควาย
- อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
การกระจายพันธุ์ :
- นกอพยพ
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- เลี้ยงไว้ดูเล่น
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ