ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
นกขนาดกลาง (51 ซม.) ปากยาวปานกลาง โค้งเล็กน้อยและมีสีเหลืองผิวหนังบริเวณใบหน้าเป็นสีเหลืองแกมเขียว ขายาวปานกลาง แข้งและนิ้วสีออกดำหรือเหลืองแกมเขียว ขนทั่วร่างกายเป็นสีขาว ในฤดูผสมพันธุ์ปาก ผิวหนังบริเวณใบหน้า ขา และนิ้มีสีแดง ขนบริเวณหัว คอ และหลังจะเป็นสีส้ม
-
มีขนาดประมาณ 48-53 เซนติเมตร ขนาดเล็ก หนังที่หน้าเหลืองคล้ำ ปากเหลืองหนาและสั้น หัวโต คอหนาและสั้น ขาค่อนข้างสั้นสีเทาคล้ำ ขนชุดผสมพันธุ์ ปากเหลืองหรือชมพูสด หัว คอ อก และหลังน้ำตาลแกมส้มสดใส ขนบริเวณท้ายทอย ขนเจ้าชู้ที่อกและหลังยาวมากขึ้น
-
ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนทั่วตัวสีขาว แต่ในฤดูผสมพันธุ์จะมีขนประดับเป็นเส้นยาว ๆ ที่หัว คอ และหลังเป็นสีเหลืองส้ม พ้นฤดูผสมพันธุ์ขนประดับดังกล่าวจะผลัดออกหมด นัยน์ตาและปากเป็นสีเหลือง แต่รอบตาสีออกเขียวอ่อน เท้าสีดำ
ระบบนิเวศ :
-
พบตามทุ่งนา และบริเวณแหล่งกสิกรรมต่างๆ ที่ใกล้แหล่งน้ำ อาหารได้แก่ แมลง สัตว์สะเทินน้ำสะเหินบกและสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มักหากินอยู่ตามฝูงวัวควาย คอยไล่จับแมลงที่บินหรือกระโดดขณะที่วัวควายเดินผ่าน
-
ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน
-
ระบบนิเวศเกษตร
-
ระบบนิเวศป่าไม้
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
-
กำแพงเพชร
-
เชียงใหม่
-
พะเยา
-
สมุทรปราการ
-
นนทบุรี
-
ฉะเชิงเทรา
-
ชุมพร, ลำพูน, เชียงราย
-
พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
การขยายพันธุ์ :
-
ผสมพันธุ์ในช่วงเตือนมีนาคม-พฤษภาคม ทำรังตามต้นไม้ยืนต้นหรือกอไผ่ ด้วยกิ่งไม้สานกันอย่างหยาบๆ ไข่สีเขียวซีด ในแต่ละรังมีไข่ 3-5 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 21-23 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย, ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูสีฐาน(ป่าภูผาซาน), ป่าสงวนแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือและป่ายางน้ำกลัดใต้, ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง, ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังใหญ่และป่าแม่น้ำน้อย, ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูโหล่ย, ป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาแม่นางขาว, ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่-ป่าเขาไฟไหม้), ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเป้ง, ป่าสงวนแห่งชาติป่าสีสุก, ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงโพนทราย, ป่าสงวนแห่งชาติป่านาซาวฝั่งซ้ายถนนแพร่-น่าน, ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองปะเหลียนและป่าคลองท่าบ้า, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่คำมี, ป่าสงวนแห่งชาติป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร
-
มีถิ่นกำเนิดเกือบทั่วโลก ในเอเชียพบได้พม่า ไทย จีนตอนไต้ ไต้หวัน อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบทั่วไปทุกภาค
-
ลุ่มน้ำปิง, คลองสวนหมาก
-
พื้นที่เกษตรดอยอินทนนท์และอำเภอจอมทอง
-
บริเวณบ้านปางพริก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ป่าทุ่งระยะและป่านาสัก ชุมพร, ป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร ลำพูน, ป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว เชียงราย
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
ที่มาของข้อมูล
-
OEPP Biodiversity Series Vol. 7 Birds of Bung Boraphet, 2543
-
สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้
-
องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูถัมป์
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 4 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 7 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศเกษตร, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
กรมป่าไม้
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)
พิพิธภัณฑ์
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |
---|---|---|---|
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |