ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
หมู่เกาะอ่างทอง
-
เกาะกระ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยยาวได้ถึง 30 ม. มีรากตามข้อ ใบรูปรี รูปไข่ รูปคล้ายไต รูปหัวใจ หรือรูปขอบขนาน ยาว 3.5–9 ซม. ปลายกลม เว้าตื้น หรือแฉกลึก โคนรูปลิ่มกว้าง ตัด หรือเว้าตื้น แผ่นใบหนา ด้านล่างมีต่อม 2 ต่อม ก้านใบยาว 2–10 ซม. ก้านช่อดอกยาว 4–14 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 3 มม. ร่วงเร็ว ก้านดอกยาว 2–2.5 ซม. กลีบเลี้ยงกลีบคู่นอกรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 5–8 มม. กลีบใน 3 กลีบ เกือบกลม เว้า ยาว 0.7–1 ซม. ดอกรูปแตร สีม่วง แถบและโคนด้านในมีสีเข้ม ยาว 4–5 ซม. รังไข่เกลี้ยง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.7 ซม. เมล็ดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7–8 มม. สีดำ มีขนสีน้ำตาลหนาแน่น
-
ไม้ล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาว 5-30 ม. มีรากที่ข้อ ลำต้นเกลี้ยงเป็นสัน มียางสีขาวตามส่วนต่างๆ
ใบ เดี่ยว ขนาดและรูปร่างผันแปรสูง มักเรียงเวียนสลับห่างๆ ทางด้านบนของลำต้น แผ่นใบรูปหัวใจกลับหรือรูปไตกลับ ขนาด 4-6x5-7 ซม. โคนใบกลมถึงตัด ขอบใบเรียบ ปลายใบรูปหัวใจกลับถึงเว้าตื้นกว้างๆ เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยุบตัว เส้นแขนง 4-8 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห เนื้อใบหนากึ่งอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวคล้ำเป็นมัน ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบยาว 3-5 ซม. ด้านบนเป็นร่อง
ดอก เดี่ยว หรือแบบช่อเชิงลดมีก้าน ออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกแบนเป็นเหลี่ยม เกลี้ยงและแข็ง ยาว 3-8 ซม. ก้านดอกยาว 2-3 ซม. อาจยาวถึง 5 ซม. เมื่อเป็นผล ใบประดับรูปไข่แกมรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.3 ซม. ร่วงหลุดง่าย กลีบเลี้ยงสีเขียว แผ่นกลีบโค้ง เกลี้ยง เนื้อหนาเป็นมัน เรียงเป็น 2 วง วงนอก 3 กลีบ รูปไข่ถึงรูปรี ยาวประมาณ 1 ซม. วงในกว้างกว่า มี 2 กลีบ รูปมนกลม ยาวประมาณ 1.3 ซม. กลีบทั้งหมดปลายมนและมีติ่งแหลมสั้น กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปแตร ส่วนปลาย ผายออกและแยกเป็น 5 แฉกตื้นๆ สีชมพู สีม่วงแดงถึงม่วง ส่วนที่เป็นหลอดยาว 2-3 ซม. ด้านในหลอดและตามรอยเชื่อมของแฉกกลีบสีม่วงเข้ม ออกดอกตลอดทั้งปี
ผล แบบผลแห้งแตกกลางพู รูปทรงไข่กว้างถึงกลม ยาว 1-1.7 ซม. มี 2 ช่อง แต่ละช่องมี 2 เมล็ด ยาว 0.5-1 ซม. มีขนสีดำปกคลุมหนาแน่น ออกผลตลอดทั้งปี
ใบ เดี่ยว ขนาดและรูปร่างผันแปรสูง มักเรียงเวียนสลับห่างๆ ทางด้านบนของลำต้น แผ่นใบรูปหัวใจกลับหรือรูปไตกลับ ขนาด 4-6x5-7 ซม. โคนใบกลมถึงตัด ขอบใบเรียบ ปลายใบรูปหัวใจกลับถึงเว้าตื้นกว้างๆ เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยุบตัว เส้นแขนง 4-8 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห เนื้อใบหนากึ่งอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวคล้ำเป็นมัน ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบยาว 3-5 ซม. ด้านบนเป็นร่อง
ดอก เดี่ยว หรือแบบช่อเชิงลดมีก้าน ออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกแบนเป็นเหลี่ยม เกลี้ยงและแข็ง ยาว 3-8 ซม. ก้านดอกยาว 2-3 ซม. อาจยาวถึง 5 ซม. เมื่อเป็นผล ใบประดับรูปไข่แกมรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.3 ซม. ร่วงหลุดง่าย กลีบเลี้ยงสีเขียว แผ่นกลีบโค้ง เกลี้ยง เนื้อหนาเป็นมัน เรียงเป็น 2 วง วงนอก 3 กลีบ รูปไข่ถึงรูปรี ยาวประมาณ 1 ซม. วงในกว้างกว่า มี 2 กลีบ รูปมนกลม ยาวประมาณ 1.3 ซม. กลีบทั้งหมดปลายมนและมีติ่งแหลมสั้น กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปแตร ส่วนปลาย ผายออกและแยกเป็น 5 แฉกตื้นๆ สีชมพู สีม่วงแดงถึงม่วง ส่วนที่เป็นหลอดยาว 2-3 ซม. ด้านในหลอดและตามรอยเชื่อมของแฉกกลีบสีม่วงเข้ม ออกดอกตลอดทั้งปี
ผล แบบผลแห้งแตกกลางพู รูปทรงไข่กว้างถึงกลม ยาว 1-1.7 ซม. มี 2 ช่อง แต่ละช่องมี 2 เมล็ด ยาว 0.5-1 ซม. มีขนสีดำปกคลุมหนาแน่น ออกผลตลอดทั้งปี
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ล้มลุกที่ลำต้นทอดคลานไปตามดิน หิน หรือลำต้นไม้
-
ไม้ล้มลุกที่ลำต้นทอดคลานไปตามดิน หิน หรือลำต้นไม้ (Creeping Herb)
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
สุราษฏร์ธานี
-
นครศรีธรรมราช
-
พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
การกระจายพันธุ์ :
-
บริเวณเขตร้อนทั่วโลก
ที่มาของข้อมูล
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 6 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศเกาะ, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)