ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- มีขนาดประมาณ 55-65 เซนติเมตร แตกต่างจากเหยี่ยวขนาดใหญ่อื่นๆ ที่ปากเรียวเล็ก หัวเล็ก คอค่อนข้างยาว ท้ายทอยมีหงอนสั้นๆ หางยาวปลายมน สีและลวดลายเปลี่ยนแปลงได้หลายแบบ หรือมีการเลียนแบบขนและลวดลายคล้ายเหยี่ยวชนิดอื่น ชนิดย่อย orientails หงอนสั้นมาก ชนิดย่อยประจำถิ่น torquatus บางตัวหงอนที่ท้ายทอยค่อนข้างยาว ตัวผู้สีอ่อน : ตาน้ำตาลแดง หางด้านล่างเห็นแถบขาวกว้างมาก ปลายดำกว้างกว่าตัวเมีย ส่วนใหญ่หัวและหน้าเทา ลำตัวด้านล่างขาวแกมน้ำตาล-น้ำตาลแดง คอขาวมีเส้นดำรอบ อาจมีเส้นกลางคอ ขนคลุมใต้ปีกน้ำตาลเหลือง-น้ำตาลแดง มีลายตามยาวสีเข้ม ขนปีกบินขาวหรือเทา ปลายปีกและขอบปีกด้านหลังดำกว้างกว่าตัวเมีย มีลายตามยาวที่ขนปีกบินด้านใน 2 แถบ ตัวเมียสีอ่อน : ตาเหลือง แถบขาวใต้หางแคบกว่า เห็นเป็นแถบดำ 4 แถบ แถบปลายหางและแถบขอบปีกด้านหลังแคบกว่าตัวผู้ นกเต็มวัยสีเข้ม : ขนลำตัวและขนคลุมใต้ปีกน้ำตาลเข้ม คออาจมีสีอ่อน นกวัยอ่อน : มักมีหัวลำตัวด้านล่างสีจางออกขาว ลายใต้ปีกจางกว่า และลายใต้หางมี 3 - 4 แถบ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าสงวนแห่งชาติป่ากุดจับ, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่วงก์ – แม่เปิน , ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร, ป่าสงวนแห่งชาติป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า น้ำปาด
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเมี่ยง-ภูทอง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองนาคา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- สมุทรปราการ
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- สระแก้ว
- อุตรดิตถ์
- พิษณุโลก
- สุราษฎร์ธานี, ระนอง
- สถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ข้อมูลสภานภาพ CITES

CITES โลก

- บัญชีหมายเลข II (ประกาศใช้เมื่อ 2013-06-12)

CITES ไทย

- บัญชีหมายเลข II