ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นกขนาดเล็กมาก (15 ซม.) ตัวผู้ลักษณะคล้ายกับนกกระจอกบ้าน แต่บริเวณกระหม่อม ตะโพก และขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีเทา ขนบริเวณหูสีขาวคอหอยมีลายพาดสีดำซึ่งจะติดต่อกับลายพาดสีดำขนาดใหญ่ตรงกลางอก ตัวเมียลักษณะคล้ายคลึงกับตัวเมียนกกระจอกตาล แต่บริเวณด้านบนลำตัวสีเทาอ่อน-น้ำตาล มีลายขีดสีดำที่หลัง และลายพาด 2 ลายสีขาวที่ปีก ด้านล่างลำตัวสีขาวสกปรก ตะโพกเป็นสีเทาจาง-น้ำตาล
ระบบนิเวศ :
- พบตามทุ่งโล่ง แหล่งกสิกรรม และหมู่บ้าน หากินส่วนใหญ่ตามพื้นดิน โดยกินเมล็ดข้าวเปลือก เมล็ดหญ้า ธัญพืช แมลง และตัวหนอนต่างๆ เป็นอาหาร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- กำแพงเพชร
- พิษณุโลก
- สมุทรปราการ
- นนทบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- นนทบุรี
- กรุงเทพมหานคร
- กรุงเทพมหานคร
- ลำพูน
- สถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
การขยายพันธุ์ :
- ผสมพันธุ์เกือบตลอดทั้งปีโดยทำรังตามกิ่งก้านของต้นไม้ รังเป็นรูปทรงกลม มีทางเข้าออกทางด้านข้าง ประกอบด้วยใบหญ้าเป็นส่วนใหญ่ ในแต่ละรังมีไข่ 4-6 ฟอง ไข่สีน้ำตาลอ่อน ไม่มีลายใดๆ ระยะเวลาฟักไข่ 11 -12 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาสนามเพรียง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเมี่ยง-ภูทอง
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร ลำพูน
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2018)
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2019)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ