ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นก
- นกขนาดใหญ่ (81 ซม.) ปากยาวและใหญ่ บริเวณใกล้ๆ กับปลายขากรรไกรล่างจะเว้า ทำให้ขากรรไกรทั้งสองเมื่อมาประกบกัน
แล้วเกิดช่องว่าง เห็นได้ชัดเจนในนกตัวเต็มวัยแม้จะหุบปากก็ตาม คอค่อนข้างยาว ในฤดูผสมพันธุ์สีตามลำตัวทั้งด้านบนและด้านล่างมีสีขาว ขนปลายปีก หาง และตะโพกสีดำ ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์สีตามลำตัวเป็นสีเทาอ่อน
- นกชนิดนี้มีขนาดใหญ่ประมาณ 81 เซนติเมตร มีขนาดใกล้เคียง
กับห่านบ้าน มีเอกลักษณ์ คือ มีปากใหญ่ยาวสีเทาดำ ปลายปากแหลม กลางปากค่อนไปทางปลายปากมีลักษณะเปิดเป็นช่องว่าง ซึ่งเมื่อปากบนและปากล่างประกบกันจะทำให้สามารถมองเห็นช่องว่างของปากได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกชื่อว่า “นกปากห่าง” โดยสภาพที่ช่วงกลางปากของนกชนิดนี้มีลักษณะเปิดเป็นช่องว่าง จะทำให้ช่วงกลางปากมีลักษณะแยกออกจากกัน ซึ่งจะช่วยทำให้นกสามารถจับหอยโข่งซึ่งเป็นอาหารโปรดนั้นไม่ให้ลื่นหลุดออกจากปาก คอของนกมีขนาดยาวและขามีขนาดยาวมากสีชมพู แข้งและตีนสีชมพูคล้ำ ในช่วงระยะเวลานอกฤดูผสมพันธุ์ ขนปกคลุมลำตัวสีเทาอ่อน ขนโคนปีก ขนปีกบินและหางสีดำ ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ขนปกคลุมลำตัวสีขาวมากขึ้น แข้งและตีนสีแดง เมื่ออยู่ในระยะนกวัยอ่อน หัวและคอสีน้ำตาล แข็งสีดำ ปากมีขนาดเล็กและไม่มีช่องว่าง เมื่อขณะที่นกชนิดนี้โผบินอยู่
ในท้องฟ้า จะสามารถเห็นขนใต้ปีกสีขาวสลับดำ และเห็นปากหนาของนกและมีขนาดใหญ่ได้อย่างชัดเจน หากเรายืนอยู่ใน ระยะใกล้ๆ ขณะที่นกกำลังบิน จะได้ยินเสียงนกกระพือปีกมีเสียงดังมาก หากินโดยการเดินท่องในน้ำ หรือในดินเลนอย่างช้าๆ และใช้ปากที่มีลักษณะเปิดเป็นช่องว่าง (ปากห่าง) จับหอยเชอร์รี่หรือหอยโข่งนั้นขึ้นมาจากน้ำ แล้วใช้ปลายปากแหลมจิกเนื้อหอยโข่งออกมาจากเปลือกหอยแล้วกลืนกินหอยเข้าไปทั้งตัว ในช่วงกลางคืน จะหลับนอนกันเป็นกลุ่มๆ บนยอดกิ่งไม้ นกชนิดนี้มักจะพักผ่อนหลับนอนในต้นไม้ที่เดิมเป็นประจำทุกคืน ตราบเท่าที่ยังไม่มีการรบกวนจากมนุษย์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ปากสำน้ำตาลแกมเหลือง กลางปากค่อนข้างไปทางปลายเปิดเป็นช่องว่าง ขนลำตัวเทา ขนโคนปีก ขนปีกบิน และหางดำ แข้งและตีนชมพูคล้ำ ขนชุดผสมพันธุ์ : ขนลำตัวขาวมากขึ้น แข้งและตีนแดง
ระบบนิเวศ :
- ทุ่งนา หนอง บึง พื้นที่ลุ่มน้ำและแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ในที่ราบอาจพบได้ถึงความสูง 700 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีการรวมกลุ่มทำรังเป็นจำนวนมาก
- พบตามทุ่งนาและแหล่งน้ำต่างๆ มักพบอยู่รวมกันเป็นฝูง อาหารได้แก่ หอยโข่งและหอยเขอรี่ รวมทั้งสัตว์น้ำต่างๆ เท่าที่จะหาได้ ปกติหาอาหารด้วยการเดินลุยไปตามขายน้ำซึ่งไม่ลึกมากนัก อาหารที่เป็นหอยโข่งจะใช้ปากงับฝาหอยออกแล้วจิกกินเฉพาะเนื้อหอย โดยไม่ทำให้เปลือกหอยแตกแต่อย่างใด ถ้าเป็นสัตว์อื่นๆ นกจะใช้ปากคาบแล้วกลืนกินทันที
- ระบบนิเวศเกษตร
- สวนยาง ทุ่งหญ้า ชายป่า ป่ายางแดง นาข้าว
- ระบบนิเวศแมน้ำ หนองน้ำ พื้นที่ชุมน้ำ
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- นนทบุรี
- กระบี่
- สมุทรปราการ
- นนทบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- นนทบุรี
- กรุงเทพมหานคร
- กรุงเทพมหานคร
- อุตรดิตถ์, ลำพูน, นครสวรรค์, เชียงราย
- ยะลา,ปัตตานี
- สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
- บุรีรัมย์, สระแก้ว
- สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
- บุรีรัมย์, สระแก้ว
- สถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
การขยายพันธุ์ :
- ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ทำรังบนต้นไม้สูงเป็นรังแบบง่ายๆ ใช้กิ่งไม้มาวางซ้อนทับกัน ไข่สีขาว ในแต่ละรังมีไข่ 2-4 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 27-29 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่เกษตรกรรม
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา อุตรดิตถ์, ป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร ลำพูน, ป่าแม่วงก์ - แม่เปิน นครสวรรค์, ป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว เชียงราย
- พรุลานควาย
- อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
- อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
- เชียงราย
การกระจายพันธุ์ :
- นกประจำถิ่น
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ