ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
นกขนาดกลางจนถึงขนาดกลาง-ใหญ่
(58-61 ซม.) ปากตรงและแหลม ปากสีดำ หัวใหญ่ ตาใหญ่ ม่านตาสีแดง หัวและลำตัวเป็นสีน้ำเงินหม่นเกือบดำและมักจะออกเหลือบเขียว ท้องสีขาว อกสีเทา ในฤดูผสมพันธุ์มีขนสีขาวเส้นเล็กๆ และยาว 2-3 เส้นออกมาจากท้ายทอยเป็นหงอนขน
(58-61 ซม.) ปากตรงและแหลม ปากสีดำ หัวใหญ่ ตาใหญ่ ม่านตาสีแดง หัวและลำตัวเป็นสีน้ำเงินหม่นเกือบดำและมักจะออกเหลือบเขียว ท้องสีขาว อกสีเทา ในฤดูผสมพันธุ์มีขนสีขาวเส้นเล็กๆ และยาว 2-3 เส้นออกมาจากท้ายทอยเป็นหงอนขน
-
ขนาด 58-65 เซนติเมตร ปากหนาแหลมสีเทาเข้ม คอสั้น หัวและท้ายทอยสีน้ำเงิน หน้าและรอบคอสีขาว ลำตัวด้านบน ขนคลุมหลังสีน้ำเงิน ปีกสีเทาฟ้า ลำตัวด้านล่าง บริเวณท้องถึงก้นสีเทา แข้งและตีนสีเหลืองส้ม ฤดูผสมพันธุ์ ท้ายทอยมีขนงอกออกมาคล้ายเปียสองเส้น นกวัยอ่อน ขนปกคลุมลำตัวด้านบนสีน้ำตาลมีลายจุดสีขาวกระจาย ลำตัวด้านล่างมีลายขีดสีน้ำตาลเข้ม แข้งและตีนสีเหลืองเขียว เสียงร้อง สั้น แหบ “แควก-แควก” ช่วงกลางวันอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่
ระบบนิเวศ :
-
ออกหากินในเวลากลางคืน เวลากลางวันจะพักผ่อนตามพุ่มไม้ หรือป่าหญ้าตามแหล่งน้ำที่ไม่มีศัตรูรบกวน หากินตามแหล่งน้ำทั่วไป ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม อาหารได้แก่ สัตว์น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกรวมทั้ง สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กและแมลงต่างๆ
-
ทุ่งหญ้า นาข้าว
-
ระบบนิเวศแมน้ำ หนองน้ำ พื้นที่ชุมน้ำ
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
-
สมุทรปราการ
-
นนทบุรี
-
ฉะเชิงเทรา
-
นนทบุรี
-
กรุงเทพมหานคร
-
กรุงเทพมหานคร
-
เชียงราย
-
ยะลา,ปัตตานี
-
นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
-
ลุ่มน้ำอิงตอนล่าง, ป่าชุมชนน้ำบ้านม่วงชุม ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงทอง และหนองน้ำบ้านป่าข่า ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล
-
สถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
การขยายพันธุ์ :
-
ผสมพันธุ์เกือบตลอดทั้งปี ทำรังบนต้นไม้ที่ค่อนข้างสูงหรือต้นไผ่ รังทำด้วยกิ่งไม้เล็กๆ นำมาสานกันอย่างหยาบๆ ไข่สีน้ำทะเล ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 21-24 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว เชียงราย
-
พรุลานควาย
-
อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
-
เชียงราย
การกระจายพันธุ์ :
-
นกประจำถิ่น
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2019)
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2019)
ที่มาของข้อมูล
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2563.
-
OEPP Biodiversity Series Vol. 7 Birds of Bung Boraphet, 2543
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)
-
กรมป่าไม้
-
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในพรุลานควาย, โครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนและเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูพรุลานควายอย่างยั่งยืน, กองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อม, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
คู่มือจำแนกชนิดพันธุ์นกน้ำ ในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำอิงตอนล่าง, 2566, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
IUCN Red List
-
IUCN Red List
-
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี (สถานตากอากาศบางปู)
พิพิธภัณฑ์
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |
---|---|---|---|
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |