ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ระบบนิเวศ :
- urban and open areas, cultivations.
- หากินในตอนกลางคืน พบอาศัยทั่วไปตามหมู่บ้าน และทุ่งโล่ง อาหารได้แก่ หนูต่างๆโดยการบินโฉบจับด้วยกรงเล็บ จากนั้นจึงฉีกกินด้วยปาก
- ระบบนิเวศป่าไม้
- ระบบนิเวศเกษตร
- สวนยาง ทุ่งหญ้า ชายป่า ป่ายางแดง นาข้าว
การกระจายพันธุ์ :
- Indo-Chinese
- นกประจำถิ่น
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- Uncommon resident throughout, threatened by human
persecution.
- ป่าสงวนแห่งชาติป่าสาลีก, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่คำมี, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่จางฝั่งซ้าย, ป่าสงวนแห่งชาติป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา, ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว, ป่าสงวนแห่งชาติป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม
- บริเวณบ้านปางพริก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง
- พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน อำเภอท่าวังผา และพื้นที่ใกล้เคียง
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม สุราษฎร์ธานี
- พรุลานควาย
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
- อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นกขนาดเล็กถึงกลาง (33-34 ซม.) ใบหน้าเป็นรูปหัวใจ ตาใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของหัว คอสั้น ปีกยาว หางค่อนข้างสั้น ขาและนิ้วแข็งแรง มีขนคลุมแข้งเกือบถึงนิ้วด้านล่างลำตัวและขนปีกด้านล่างเป็นสีน้ำตาลอ่อนเกือบเป็นสีขาว มีจุดลักษณะกลมรี
สีน้ำตาล หรือสีเทากระจายอยู่ทั่วไป ทางด้านบนลำตัวและขนคลุมขนปีกสีเหลืองทอง มีจุดสีน้ำตาลเข้มกระจายอยู่ทั่วไป
- วงหน้ารูปหัวใจสีขาวขอบน้ำตาลแดง ตาสีน้ำตาลแดงคล้ำ ลำตัวด้านบนน้ำตาลแกมเหลืองแซมด้วยสีเทา มีจุดขาวและน้ำตาลแดงเข้มกระจาย ลำตัวด้านล่างมีจุดสีเทาและน้ำตาลแดงกระจาย นกบางตัวหน้าอกสีน้ำตาลแดง
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- พะเยา
- น่าน
- กระบี่
- นนทบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- สุราษฎร์ธานี
- ยะลา,ปัตตานี
- สระแก้ว
- บุรีรัมย์, สระแก้ว
- สถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
การขยายพันธุ์ :
- ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม ปกติจะไม่มีการ
ก่อสร้างรังใดๆ แต่จะวางไข่ตามโพรงไม้ หรือตามชายคาบ้าน ไข่สีขาว ในแต่ละรังมีไข่ 4-7 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่
32-34 วัน
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
ข้อมูลภูมิปัญญา
- นกแสก มือปราบหนู :: นกแสก นกแฝก หรือ นกเค้าหน้าลิง เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งในวงศ์นกแสก (Tytonidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tyto alba จัดเป็นนกในอันดับนกเค้าแมว 1 ชนิดใน 19 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย นกแสกมีลักษณะใบหน้าที่มีสีขาวเป็นรูปหัวใจ แต่มองดูแล้วหน้าคล้ายลิง บางประเทศจึงเรียกว่า นกเค้าหน้าลิง มีดวงตาขนาดใหญ่ ปากเรียว แหลม และจะงอยปากเป็นปากขอ คอสั้น ปีกยาว หางค่อนข้างสั้น สีทางด้านล่างลำตัวและใต้ปีกเป็นสีน้ำตาลอ่อนเกือบเป็นสีขาว ทางด้านบนลำตัวและขนที่ปกคลุมปีกมีสีเหลืองทอง มีจุดสีน้ำตาลเข้มกระจายอยู่ทั่วลำตัวด้านบน ขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 1 ฟุต นกแสกเป็นนกที่หากินในเวลากลางคืน โดยมากพบในถิ่นท
- ทำความรู้จัก สัตว์โลกที่ศรัทธาใน รักเดียว :: ความรักของมนุษย์เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน เพราะในชีวิตของมนุษย์นั้นล้วนเจอความรักในรูปแบบที่หลากหลาย สำหรับบางคนอาจเจอแต่ความรักที่เจ็บปวด หรือบางคนอาจได้เจอกับคนรักที่ดีจนสามารถครองคู่ด้วยกันตลอดไป สัตว์บางชนิดถือว่าโชคดีกว่ามนุษย์มาก เพราะพวกมันก็จะรักกันไปตลอด โดยไม่ต้องห่วงเรื่องที่อีกฝ่ายจะนอกใจตัวเอง หลักวิทยาศาสตร์แบ่งพฤติกรรมเกี่ยวกับความรักของสัตว์ได้ 2 แบบ คือ ระบบจับคู่ทีละหลายๆ ตัวในคราวเดียว (Polygamy) โดยจำนวน 90% ของสัตว์ประเภทนี้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนสัตว์ที่จัดอยู่ในแบบที่ 2 คือ ระบบคู่แต่งงานเดียว (Monogamy) โดย 90% ของสัตว์ปีกมักอยู่ในระบบนี้ และ
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
ที่มาของข้อมูล
ข้อมูลสภานภาพ CITES

CITES โลก

- บัญชีหมายเลข II (ประกาศใช้เมื่อ 2013-06-12)

CITES ไทย

- บัญชีหมายเลข II

พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ