ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ล้มลุกทอดเลื้อยตามพื้น ลำต้นมีขนแบบ 2 แขน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับยาว 0.5-1.3 เซนติเมตร กว้าง1-7 มิลลิเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักซี่ฟันส่วนปลายใบ ขอบด้านข้างเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีขนแบบ 2 แขน ก้านใบยาว 1-4 มิลลิเมตร มีขนแบบ 2 แขน ช่อดอกแบบช่อเชิงลด รูปกลม ออกที่ซอกใบช่อดอกยาว 0.2-.21 เซนติเมตร ก้านข่อดอกยาว 3-8 มิลลิเมตร ไม่มีก้านดอกย่อย ใบประดับ รูปหัวใจ ยาว 2-2.5 มิลลิเมตร กว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม ผิวด้านนอกมีขน กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นถ้วยที่ฐานเล็กน้อยปลายแยกเป็น 2 กลีบ แต่ละกลีบรูปหอกยาว 1-2.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-1 มิลลิเมตร เนื้อบางใส กลีบดอกรูประฆังสีขาว มีสีชมพูปนเล็กน้อย เชื่อมกันเป็นหลอดที่ฐานยาว 1-2 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 4 แฉกเล็กน้อย แต่ละแฉกรูปกลมยาว 0.2-0.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.2-0.3 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกมีขน เกสรเพศผู้มี 4 อัน อยู่บริเวณปลายของหลอดกลีบดอก โดยที่ 2 อัน อยู่ต่ำกว่าเล็กน้อย อับเรณูรูปกลมยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร ติดก้านชูเกสรที่ฐาน ก้านชูเกสรเป็นแท่งยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปรี 2 อันประกบกัน แต่ละอันยาว 0.5-1 มิลลิเมตร ก้านชูเกสรยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร ยอดเกสรเป็นก้อนกลมเล็ก
-
พืชล้มลุกทอดเลื้อยคลุมตามพื้นดิน ยาวได้ถึง ๒ เมตร ชูยอดสูง ๑๐-๓๐ เซนติเมตร กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม ต้นและใบอ่อนนุ่ม เกลี้ยง ใบยาว ๒-๓ เซนติเมตร ขอบใบหยัก ช่อดอกทรงกระบอกชูขึ้น ยาว ๑-๒ เซนติเมตร สีม่วงคล้ำ มีดอกย่อยสีขาว-ชมพู คล้ายดอกผกากรอง เป็นวัชพืชที่พบมากและปกคลุมพื้นที่อย่างรวดเร็วตามพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดโล่ง หรือขอบอ่างเก็บน้ำ
-
ไม้ล้มลุกทอดเลื้อยตามพื้น ลำต้นมีขนแบบ 2 แขน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับยาว 0.5-1.3 เซนติเมตร กว้าง1-7 มิลลิเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักซี่ฟันส่วนปลายใบ ขอบด้านข้างเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีขนแบบ 2 แขน ก้านใบยาว 1-4 มิลลิเมตร มีขนแบบ 2 แขน ช่อดอกแบบช่อเชิงลด รูปกลม ออกที่ซอกใบช่อดอกยาว 0.2-.21 เซนติเมตร ก้านข่อดอกยาว 3-8 มิลลิเมตร ไม่มีก้านดอกย่อย ใบประดับ รูปหัวใจ ยาว 2-2.5 มิลลิเมตร กว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม ผิวด้านนอกมีขน กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นถ้วยที่ฐานเล็กน้อยปลายแยกเป็น 2 กลีบ แต่ละกลีบรูปหอกยาว 1-2.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-1 มิลลิเมตร เนื้อบางใส กลีบดอกรูประฆังสีขาว มีสีชมพูปนเล็กน้อย เชื่อมกันเป็นหลอดที่ฐานยาว 1-2 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 4 แฉกเล็กน้อย แต่ละแฉกรูปกลมยาว 0.2-0.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.2-0.3 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกมีขน เกสรเพศผู้มี 4 อัน อยู่บริเวณปลายของหลอดกลีบดอก โดยที่ 2 อัน อยู่ต่ำกว่าเล็กน้อย อับเรณูรูปกลมยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร ติดก้านชูเกสรที่ฐาน ก้านชูเกสรเป็นแท่งยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปรี 2 อันประกบกัน แต่ละอันยาว 0.5-1 มิลลิเมตร ก้านชูเกสรยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร ยอดเกสรเป็นก้อนกลมเล็ก
การกระจายพันธุ์ :
-
กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาตตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ พบตามที่ลุ่ม ริมทะเลสาบ นาเกลือ และริมถนนทั่วไป
-
กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาตตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ พบตามที่ลุ่ม ริมทะเลสาบ นาเกลือ และริมถนนทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
ถิ่นกำเนิด :
-
เขตร้อนและอบอุ่นในทวีปอเมริกา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
-
พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
ที่มาของข้อมูล
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
ทรัพยากรธรรมชาติของคนชายโขง, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)