ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
Climbing fern.
-
มีลำต้นไต่ขึ้นต้นไม้ใหญ่ ใบมี 2 ลักษณะแบบภาวะทวิสัณฐาน โดยใบสร้างสปอร์มีแผ่นใบลดขนาดและมีอับสปอร์กระจายเต็มหลังใบ ใบอ่อนชนิดนี้มีสีแดง
-
พืชพวกเฟิร์น ลำต้นทอดยาวไปตามพื้นดิน แล้วพัฒนาเป็นพืชเถาเลื้อยไปตามลำต้น ของไม้อื่น แตกแขนงได้ดี ลำต้นหรือเหง้าเรียวยาวคล้ายเชือก สีเขียว มีเกล็ดปกคลุมเฉพาะส่วนปลาย
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับห่างๆ รูปร่างต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างสปอร์ ก้านช่อใบไม่มีรอยเชื่อมกับแกนใบ ยาว 10-15 ซม. แผ่นช่อใบรูปขอบขนาน ขนาด 15-30x30-70 ซม. ประกอบด้วยใบย่อย 10-15 คู่ ใบย่อยรูปแถบถึงรูปรี เรียวแคบ ขนาดผันแปรสูง ประมาณ 1-3x10-20 ซม. โคนใบสอบถึงเป็นลิ่มกว้าง ขอบใบจักฟันเลื่อยไม่เป็นระเบียบ โปร่งแสง ปลายใบเรียวแหลมเป็นหนามใส เส้นใบย่อยตรง หรือแยกเป็นง่ามอิสระ เรียงแบบขนานขนนกเป็นระเบียบ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันวาว เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบย่อยสั้น ใบสร้างสปอร์รูปเรียวแคบ ขนาดไม่แน่นอน ประมาณ 0.3x20 ซม. ขอบใบม้วนขึ้นด้านบน ด้านล่างมีอับสปอร์สีน้ำตาลกระจายทั่วแผ่นใบยกเว้นบริเวณเส้นกลางใบและขอบใบ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับห่างๆ รูปร่างต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างสปอร์ ก้านช่อใบไม่มีรอยเชื่อมกับแกนใบ ยาว 10-15 ซม. แผ่นช่อใบรูปขอบขนาน ขนาด 15-30x30-70 ซม. ประกอบด้วยใบย่อย 10-15 คู่ ใบย่อยรูปแถบถึงรูปรี เรียวแคบ ขนาดผันแปรสูง ประมาณ 1-3x10-20 ซม. โคนใบสอบถึงเป็นลิ่มกว้าง ขอบใบจักฟันเลื่อยไม่เป็นระเบียบ โปร่งแสง ปลายใบเรียวแหลมเป็นหนามใส เส้นใบย่อยตรง หรือแยกเป็นง่ามอิสระ เรียงแบบขนานขนนกเป็นระเบียบ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันวาว เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบย่อยสั้น ใบสร้างสปอร์รูปเรียวแคบ ขนาดไม่แน่นอน ประมาณ 0.3x20 ซม. ขอบใบม้วนขึ้นด้านบน ด้านล่างมีอับสปอร์สีน้ำตาลกระจายทั่วแผ่นใบยกเว้นบริเวณเส้นกลางใบและขอบใบ
ระบบนิเวศ :
-
On tree-trunks, or rarely terrestrial or rocks in rather dry places in shade, at low altitudes below 400 m alt.
การกระจายพันธุ์ :
-
N and S India, S China, Indochina, Malesia and Polynesia to Australia.
-
ประเทศอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดถึงหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และออสเตรเลีย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
Loei,Bangkok,Chanthaburi,Trat,SuratThani,NakhonSiThammarat,Krabi,Trang,Satun
-
น่าน, พระนครศรีอยุธยา, นครปฐม, สมุทรสงคราม
-
อุบลราชธานี
-
พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
ผาแต้ม
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เฟิร์นเถาขึ้นบนดิน
-
เฟิร์นไม้เลื้อย (Creeping Fern)
ที่มาของข้อมูล
-
Checklist of Plants in Thailand Volume I ปี 2557 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
OEPP Biodiversity Series Vol. 11 Pteridophytes in Thailand, 2543
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 8 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศแห้งแล้งและกึ่งชื้น, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)