ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- พืชล้มลุกโผล่พ้นน้ำ มีเหง้าสั้นๆ ใบ เป็นใบเดี่ยวแตกเป็นกระจุก แบบเวียนเรียงซ้อนกัน ก้านใบอวบเป็นรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่ โคนใบรูปหัวใจ ปลาบใบมน หรือเป็นติ่งแหลม ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่ม ดอกย่อย 2-15 ดอก กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ ลักษณะบางย่นเกสรเพศผู้จำนวนมากและส่วนหนึ่งที่เป็นหมัน ผล เป็นผลรวมที่มีผลย่อยติดกันเป็นกระจุกแน่น สีน้ำตาล
- เป็นพืชน้ำ ล้มลุก มีรากยึดท้องน้ำ ใบขึ้นมาเหนือ ผิวน้ำ ต้นสูง ๐.๓-๑ เมตร ต้นอ่อนนุ่ม มีช่องอากาศจำนวนมาก ผิวเกลี้ยงมีไข เคลือบไม่ติดน้ำ ก้านใบและช่อดอกเป็น สามเหลี่ยม ใบรูปใบพายกว้าง ดอกสีเหลือง มีกลีบดอก ๓ กลีบดอก เป็นวัชพืชใน นาข้าว ร่องน้ำ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำที่น้ำลึก ไม่เกิน 6 ฟุต ขยายพันธุ์ได้ดีด้วยการ แตกหน่อและเมล็ดที่หล่นตกค้างในดิน หรือไหลไปตามน้ำ
- พืชล้มลุกโผล่พ้นน้ำ มีเหง้าสั้นๆ ใบ เป็นใบเดี่ยวแตกเป็นกระจุก แบบเวียนเรียงซ้อนกัน ก้านใบอวบเป็นรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่ โคนใบรูปหัวใจ ปลาบใบมน หรือเป็นติ่งแหลม ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่ม ดอกย่อย 2-15 ดอก กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ ลักษณะบางย่นเกสรเพศผู้จำนวนมากและส่วนหนึ่งที่เป็นหมัน ผล เป็นผลรวมที่มีผลย่อยติดกันเป็นกระจุกแน่น สีน้ำตาล
การกระจายพันธุ์ :
- มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้เขตร้อน ปัจจุบันพบขึ้นกระจายทั่วไป ในประเทศเขตศูนย์สูตร ตามแหล่งน้ำตื้นๆ หรือในนาข้าว
- มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้เขตร้อน ปัจจุบันพบขึ้นกระจายทั่วไป ในประเทศเขตศูนย์สูตร ตามแหล่งน้ำตื้นๆ หรือในนาข้าว
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
ถิ่นกำเนิด :
- เขตร้อนในทวีปอเมริกา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
- ใบ ใบอ่อน ก้านใบอ่อน ช่อดอก ทั้งต้น
- ใบ ดอกอ่อน ต้น
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- กินเป็นผักสด หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ช่วยเจริญอาหาร และป้องกันไข้หัวลม ทั้งต้นเป็นอาหารสัตว์ และทำปุ๋ยวว
- รับประทานเป็นผัก