ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ ปลายกิ่งย้อยลู่ลง กิ่งแขนงย่อย
เป็นเหลี่ยม เปลือกเรียบ สีดำคล้ำ แต่เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะหยาบ มีรากอากาศอยู่เหนือดิน ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามตั้งฉาก แผ่นใบรูปไข่แคบถึงรูปใบหอก โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมถึงทู่ และมีติ่งสั้น ๆ ม้วนลง ดอก ออกดอกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย หนาแข็ง สีเขียว กลีบดอกสีแดงเข้ม เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีขาว โคนแดง ดอกบานตอนกลางคืน ร่วงง่าย ออกดอกเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผล ทรงกลมแป้น สีเขียว ส่วนของกลีบรองดอกที่เจริญเป็นผลจะขยายใหญ่และแผ่ตามแนวระนาบ
- ไม้ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 10-20 ม. กิ่งแขนงมักแตกตามแนวระนาบ ปลายกิ่งห้อยลู่ลง กิ่งแขนงย่อยเป็นเหลี่ยม เปลือกเรียบ สีเทาคล้ำ แต่เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะหยาบ แตกเป็นร่องลึกตามยาวหรือล่อนเป็นสะเก็ด รากหายใจยาว 70 ซม. หรือยาวกว่า เส้นผ่านศูนย์กลาง ที่โคนราก 4-5 ซม. อวบหนาขึ้นตามอายุ
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากขนาด 2-5x4-13 ซม. แผ่นใบรูปไข่แคบถึงรูปใบหอก หรือรูปขอบขนานแกมรี (ใบของกล้าไม้และลูกไม้รูปใบหอกแคบ) โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมถึงทู่ และมีติ่งสั้น ๆ ม้วนลง เนื้อใบอวบน้ำ ค่อนข้างบาง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนมีสีเขียว ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบแบน สีชมพู ยาวน้อยกว่า 0.5 ซม.
ดอก เดี่ยว หรือแบบช่อกระจุกสองด้าน ออกตามปลายกิ่ง ดอกตูมรูปทรงกระสวยหรือรูปรี ยาว 1.5-2.5 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดแล้วผายออกเป็นรูปถ้วยตื้น ผิวเรียบ ปลายแยกเป็น 6-8 แฉก รูปใบหอกแกมรูปสามเหลี่ยม แฉกกลีบยาวกว่าหลอดกลีบ ด้านในสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองนวล กลีบดอกรูปแถบสีแดงเข้ม ขนาด 0.1-0.2x1.5-2.5 ซม. ติดอยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง หลุดร่วงง่าย มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเพศผู้เรียวยาวคล้ายเส้นด้ายยาว 2.5-4 ซม. โคนก้านสีแดงปลายสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวอมชมพูก่อนร่วง และเกสรเพศเมียยาวเป็น 2 เท่าของเกสรเพศผู้ ยอดเกสรเป็นตุ่มสีเขียวอ่อน ดอกร่วงง่ายภายในวันเดียว ออกดอกระหว่างเดือน สิงหาคม-ธันวาคม
ผล แบบผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง ขนาด 4-7x2.5-3.5 ซม. ผิวเรียบ สีเขียวอ่อน ปลายเป็นติ่งแหลม มีหลอดกลีบเลี้ยงแผ่แบนเป็นจานรองรับตัวผล แฉกกลีบเลี้ยง แผ่บานออกตามแนวระนาบ ผลสุกเนื้อนิ่มมีกลิ่นหอม มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมากฝังอยู่ในเนื้อผล ออกผลระหว่างเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ หรือออกเป็นช่วงๆ ไม่แน่นอน
- ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ ปลายกิ่งย้อยลู่ลง กิ่งแขนงย่อย
เป็นเหลี่ยม เปลือกเรียบ สีดำคล้ำ แต่เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะหยาบ มีรากอากาศอยู่เหนือดิน
ใบ : เดี่ยว เรียงตรงข้ามตั้งฉาก แผ่นใบรูปไข่แคบถึงรูปใบหอก โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมถึงทู่ และมีติ่งสั้น ๆ ม้วนลง
ดอก : ออกดอกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย หนาแข็ง สีเขียว กลีบดอกสีแดงเข้ม เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีขาว โคนแดง ดอกบานตอนกลางคืน ร่วงง่าย ออกดอกเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
ผล : ทรงกลมแป้น สีเขียว ส่วนของกลีบรองดอกที่เจริญเป็นผลจะขยายใหญ่และแผ่ตามแนวระนาบ
ระบบนิเวศ :
- เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้น ริมน้ำ ทนน้ำกร่อย ชอบขึ้นในดินเหนียวที่มีการทับถมด้วยโคลนตม ตามริมแม่น้ำลำคลองที่มีน้ำเค็มขึ้นถึงบางฤดูกาล หรือที่มีน้ำกร่อยตลอดปี หรือดินชายเลนริมฝั่งทะเล
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- สมุทรปราการ
- พังงา
- สมุทรปราการ
- สมุทรปราการ
- นนทบุรี
- พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- บางกระเจ้า
- พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
- ป่าชายเลนคุระบุรี, คลองคุระบุรี
- พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้ต้น (Tree)
- - ต้นลำพู : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง–ขนาดใหญ่ สูง 8-20 เมตร ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายกรวยคว่ำ เรียวแหลมไปทางปลายราก ลำต้น ต้นตรงมีเนื้อไม้ ไม่ผลัดใบ กิ่งห้อยย้อยลง ต้นที่อายุน้อยเปลือกเรียบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะหยาบ แตกเป็นร่องลึกเป็นสะเก็ด ขึ้นในเขตป่าชายเลนค่อนข้างจืด หรือมีช่วงระยะเวลาที่ระดับความเค็มของน้ำน้อยเป็นเวลานาน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนเหนียวและลึก
- ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลมทู่ หรือ เรียวแหลมสั้นหรือ มนเป็นติ่งสั้น เส้นใบไม่เด่นชัด ก้านใบค่อนข้างแบน สีแดงเรื่อ ๆ
- ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกเดี่ยว ที่ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอดตื้น ๆ รูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉกลึก 8 แฉกรูปใบหอกแกมรูปสามเหลี่ยม แฉกยาวกว่าหลอด โคนกลีบเลี้ยงด้านในสีแดงอมชมพู กลีบดอกรูปแถบ หรือขอบขนานแคบ สีแดงเข้ม อยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร โคนก้านสีแดงปลายสีขาวชมพู
ร่วงง่ายภายในวันเดียวเกสรเพศเมีย รังไข่ใต้วงกลีบ ภายในมี 4 ห้องติดกัน ก้านเกสรยาว มีเม็ดไข่มาก
- ผลลำพู : ลักษณะลูกแป้น ๆ สีเขียว ๆ ที่หัวของผลลำพู จะมีกลีบเลี้ยงของผล ลักษณะคล้ายดอกไม้สีเขียว ส่วนกลางของผลจะมีเส้นยาวสีเขียว ยื่นยาวออกมาคล้ายจมูก เป็นลักษณะเฉพาะ ผลสุก นก ชอบจิกกิน เม็ดร่วงลงพื้นดินแฉะ ทำให้ขึ้นต้นใหม่ได้มากมาย
การกระจายพันธุ์ :
- ประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย หมู่เกาะโซโลมอน และนิวเฮบิเดส (ยกเว้นนิวคาเลโดเนีย)
การขยายพันธุ์ :
- ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
- ราก หน่อ เปลือก ใบ ผล
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- ราก : ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ หน่อ : แก้โรคตา เปลือก : แก้โรคผิวหนัง แก้แผลเปื่อย แก้โรคป่วง แก้กระษัย แก้พยาธิ แก้พิษตานชาง ใบ : ผสมกับยาอื่นแก้ปวดท้อง ลงท้อง แก้พิษปลาดุกแทง ผล : ผลแก่ตำคั้นน้ำแก้ท้องร่วง
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2010)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Dry
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
COUNTRY CULTIVAR
gsno plantname ชนิดพันธุ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ เก็บที่จังหวัด
DOATR 00019 ลำพู Sonneratia caseolaris สุพรรณบุรี
gsno plantname ชนิดพันธุ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ เก็บที่จังหวัด