ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- ภูเก็ต, อ่าวไทย
- พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- อ่าวไทย ทะเลอันดามัน
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- - ขนาดความยาว สูงสุด 99 ซม. (พบที่ท่าเทียบเรือประมงจังหวัดระนอง) ขนาดทั่วไปที่พบ 35-70 ชม. ขนาดสมบูรณ์เพศของเพศผู้ 45-60 ซม. เพศเมีย 50-99 ซม. และขนาดแรกเกิด 12-15 ซม.
- ด้านข้างส่วนหัวเป็นแนวเส้นโค้งลงมาที่ปลายจะงอยปาก ระยะห่างระหว่างครีบหลังมากกว่า 9.3 % ของความยาวตลอดตัว ครีบหลังอันแรกสูงมากกว่า 6.6 % ของความยาวตลอดตัว ครีบหลังอันที่สองสูง
มากกว่า 5.8 % ของความยาวตลอดตัว มีสันนูนตามยาวที่ด้านบนลำตัว 1 แถวถึงตอนท้ายครีบหลังอันแรก ขอบท้ายครีบหลังและปลายครีบหางโค้งมน ลำตัวสีน้ำตาลหรือเทา ด้านท้องสีขาว และในปลาขนาดเล็กมีแถบขวางสีน้ำตาลเข้มที่ลำตัว ไม่มีขอบสีดำที่แถบสี
- เป็นชนิดที่ออกลูกเป็นไข่ ครั้งละ 2 ฟอง ซึ่งไข่มีลักษณะเป็นกระเปาะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความยาว 7-9 ซม. ที่ปลายจะมีเส้นใยสำหรับยึดเกาะวัตถุใต้น้ำ โดยแม่ปลาจะวางไข่ตามกองหินใต้น้ำ หรือตามกอสาหร่ายทะเล ตัวอ่อนเจริญเติบโตและฟักออกจากไข่ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ส่วนใหญ่กินปลาหมึก หอย กุ้งและปูเป็นอาหาร
ระบบนิเวศ :
- บริเวณพื้นท้องทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลนตามชายฝั่งทะเล และกองหินใต้น้ำที่ความลึกน้ำ 5-100 เมตร อาจพบในเขตน้ำกร่อย
การกระจายพันธุ์ :
- ในเขตน่านน้ำไทย พบทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
- เนื้อนำมาบริโภคหรือแปรรูปทำปลาหวาน ลูกชิ้น และตากแห้ง ครีบใช้ทำหูฉลามตากแห้ง ตับใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ ส่วนปลาที่มีชีวิตสามารถนำมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม Near Threatened: NT (IUCN, 2003)