ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- ชลบุรี, ตราด, ภูเก็ต, ทะเลอันดามัน
- พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากแม่น้ำกระบุรี-ปากคลองกะเปอร์
- อ่าวไทย ทะเลอันดามัน
ระบบนิเวศ :
- Marine
- บริเวณพื้นท้องทะเลที่เป็นทรายตามแนวปะการัง จนถึงระดับความลึกน้ำ 50 เมตร (ส่วนใหญ่พบที่ระดับความลึกน้ำไม่เกิน 20 เมตร) ชอบหลบตามซอกหรือโพรงปะการังและโพรงหิน
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- - ขนาดความยาว สูงสุด 35 ชม. (TL 75 ชม.) ขนาดทั่วไปที่พบ 15-25 ชม. ขนาดสมบูรณ์เพศของเพศผู้ 20-22 ชม. เพศเมีย 20-24 ซม. และขนาดแรกเกิด 13-14 ชม.
- แผ่นลำตัวเป็นรูปไข่มีความกว้างน้อยกว่าความยาว จะงอยปากสั้นโค้งมน ตาโต หางสั้น (ยาว 1.5 เท่าของ DW) มีงี่ยง 2 อัน และแผ่นหนังด้านล่างของหางยาวถึงปลายทาง แผ่นลำตัวด้านบนสีน้ำตาลออก
เหลืองหรือส้ม มีจุดสีฟ้ากระจายทั่วไป และมีแถบสีฟ้าที่ด้านข้างของส่วนหางจนถึงโคนเงี่ยง ส่วนปลายหางมีสีขาว ด้านท้องสีขาว และมีขอบสีเหลือง
- มีรายงานข้อมูลชีวิวิทยาของปลาชนิดนี้น้อยมาก ซึ่งเป็นชนิดที่ออกลูกเป็นตัว เป็นพวกที่ชอบออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่กินสัตว์หน้าดินขนาดเล็กเป็นอาหาร
- ลำตัวแบนลงมาก อาจมีหรือไม่มีครีบหลัง ครีบหูแผ่ออกอยู่ทั้งสองข้างของลำตัว โดยด้านหน้าไปบรรจบกันที่บริเวณส่วนหน้าของกะโหลกศีรษะทำให้เห็นส่วนของจะงอยปากชัดเจน ในขณะที่ส่วนหลังแผ่ไปทางด้านหลังจนจรดกับโคนหางทั้งสองด้าน ตำแหน่งตาอยู่ทางด้านหลัง มีช่อง spiracle ขนาดใหญ่อยู่ชิดทางด้านท้ายของหลังตา ฟันเป็นซี่เล็กเรียงอยู่ติดต่อกันเป็นแถวๆ เป็นจำนวนมาก ส่วนหางแยกออกจากส่วนลำตัวมีลักษณะแคบเรียวยาวเป็นเส้นคล้ายแส้ มักจะมีหนามแหลมที่มีขอบเป็นหยัก (serrated) อยู่ถัดจากโคนหางเข้าไปเล็กน้อย ผิวหนังเรียบหรือหยาบ อาจมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งหรือแถวหนามแหลมบริเวณกลางลำตัวถึงหาง
การกระจายพันธุ์ :
- ในเขตน่านน้ำไทย พบทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
- บริเวณแนวชายฝั่งของอ่าวไทยตอนใน
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
- เนื้อนำมาบริโภคได้ ส่วนปลาที่มีชีวิตสามารถนำมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม Near Threatened: NT (IUCN, 2009)