ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นากชนิดนี้มีขนเรียบเป็นมัน ปลายหางแบนเห็นได้ชัด เส้นขนเหนือจมูกเป็นเส้นตรง ปาก แก้ม คอด้านล่าง และหน้าอกตอนบนมีสีขาวเหลือง ตอนบนของลำตัวสีน้ำตาลแก่ ตอนล่างหรือด้านหน้าท้องสีอ่อนกว่า อาจเป็นสีน้ำตาลหรือเทา มี หางยาวมาก ยาวกว่าครึ่งของลำตัวและหัวรวมกัน มือเท้าใหญ่สีซีด
- ขนาดตัวโตเต็มที่ หนักประมาณ 7-11 กิโลกรัม หรือขนาดประมาณหมาตัวเล็ก มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 65-75 เซนติเมตร หางยาว 40-45 เซนติเมตร ลักษณะรูปร่าง หัวกลม มีหนวดยาวซึ่งมีประสาทรับรู้ความรู้สึก หูเล็กและมีลิ้นปิดหูป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ขนสั้นเรียบเป็นมันตามชื่อ ขนส่วนบนของลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ส่วนบริเวณท้องมีสีอ่อนกว่า หลังอาจจะเป็นสีน้ำตาลหรือเทา มีหางค่อนข้างยาวและปลายหางแบนเห็นได้ชัดเพื่อช่วยในการว่ายน้ำ โดยจะยาวกว่าครึ่งหนึ่งของส่วนตัวและหัวรวมกัน ลักษณะปลายหางแบนเป็นจุดสังเกตหนึ่งที่ต่างไปจากนากใหญ่ธรรมดาและนากเล็กเล็บสั้น มีอุ้งเท้าและนิ้วเท้าขนาดใหญ่ มีพังผืดระหว่างนิ้ว ยกเว้นนิ้วที่สามที่ไม่มี เล็บยาว
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- นากใหญ่ขนเรียบพบในอินเดียตอนกลาง เนปาล สิกขิม พม่า ไทย เขมร เวียดนาม มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว
- Uthai Thani (Huai Kha Kaeng); Kampaeng Phet (Khlong
Lan); Nakhon Sawan (Mae Wong); Ubon Ratchathani
(Mekong River); Chachoengsao (Khao Ang Rue Nai);
Kanchanaburi (Salak Phra, Thung Yai, Sri Nakarin); Nakhon
Ratchasima (Khao Yai); Phetchaburi (Kaeng Krachan); Surat
Thani (Nong Thung Tong, Mookoh Ang Thong); Krabi;
Phangnga (Phangnga Bay); Trang (Hat Chao Mai); Yala
(Bang Lang, Hala-Bala).
- พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสียน
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
- อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดงใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
สถานที่ชม :
- สวนสัตว์สงขลา
การกระจายพันธุ์ :
- ทั่วประเทศ อยู่ได้ทั้งในป่า/นอกป่า และทุกที่ ทุกแม่น้ำ
- เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อิรัก บังกลาเทศ ปากีสถาน เนปาล อินเดีย ภูฏาน จีน (ตะวันตกเฉียงใต้) พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย และประเทศไทย ซึ่งพบได้ทั่วทุกภาค
ระบบนิเวศ :
- Evergreen forest along streams.
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- อุทัยธานี,กำแพงเพชร,นครสวรรค์,อุบลราชธานี,ฉะเชิงเทรา,กาญจนบุรี,นคราชสีมา,เพชรบุรี,สุราษฎร์ธานี,กระบี่,ตรัง,ยะลา
- ทั่วประเทศ อยู่ได้ทั้งในป่า/นอกป่า และทุกที่ ทุกแม่น้ำ
- กระบี่
- สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- สระแก้ว
- บุรีรัมย์
- สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- บุรีรัมย์, สระแก้ว
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- สระแก้ว
- พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ Vulnerable: VU (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ Vulnerable: VU (IUCN, 2015)
ข้อมูลสภานภาพ CITES

CITES โลก

- บัญชีหมายเลข I (ประกาศใช้เมื่อ 2019-11-26)

CITES ไทย

- บัญชีหมายเลข I