ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- นครพนม
- อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี, อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร (ภูผาเติบ)
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- เชียงใหม่
- อุบลราชธานี
- พะเยา
- น่าน
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- กระบี่
- สมุทรปราการ
- นนทบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- แม่น้ำสงครามตอนล่าง
- พื้นที่เกษตรดอยอินทนนท์และอำเภอจอมทอง
- ผาแต้ม
- บริเวณบ้านปางพริก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง
- พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน อำเภอท่าวังผา และพื้นที่ใกล้เคียง
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ขนคลุมหูมีขีดสีขาวแกมเทาชัดเจน ตาสีเทาขนตัวสีน้ำตาล คอสีอ่อน ก้นสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง
- นกขนาดเล็ก (20 ซม.) ด้านบนลำตัวสีเขียวแกมน้ำตาล ตาสีเทา (ตัวที่ยังไม่เต็มวัยตาสีน้ำตาล) มีลายขีดสีขาวบริเวณหูปีกสีเขียวด้านล่างลำตัวสีเขียวแกมเหลืองขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลืองอ่อน
ระบบนิเวศ :
- ป่าโปร่ง สวนผลไม้และพื้นที่เกษตรกรรมต่างๆ สวนสาธารณะและใกล้ชุมชน
- ระบบนิเวศเกษตร
- ระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น, ภูเขาหินทรายปกคลุมไปด้วยป่าและลานหิน
- ระบบนิเวศป่าไม้
- ระบบนิเวศเกษตร
- พบตามป่าเบญจพรรณ ป่ารุ่น ป่าละเมาะ สวนผลไม้ แหล่งกสิกรรม และในหมู่บ้านและเมือง มักพบเป็นคู่หรือฝูงเล็กๆ หากินตามต้นผลไม้ พุ่มไม้ อาหารได้แก่ ผลไม้ต่างๆ
การขยายพันธุ์ :
- ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ทำรังด้วยใบไม้แห้งใบหญ้าแห้ง เป็นรูปถ้วยตามกิ่งก้านของต้นไม้ ไข่สีเนื้ออ่อน มีลายจุดสีน้ำตาลแดง ในแต่ละรังมีไข่ 2-3 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 12-14 วัน
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Skin
Skin
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ