ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๕ - ๓๕ เมตร มีรากเสริมหรือรากค้ำยันลำต้น เปลือก แตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับตั้งฉาก รูปรี กว้าง ๔ - ๘ ซม. ยาว ๗ - ๑๘ ซม. ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม เส้นกลางใบด้านล่างสีออกแดงหรือชมพูอมแดง แผ่นใบหนา ก้านใบยาว ๑.๕ - ๓.๕ ซม. มักมีสีออกแดง หูใบแคบ ปลายแหลมยาว เห็นชัดที่ปลายกิ่ง สีชมพู ร่วงง่าย ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบที่ใบร่วงแล้ว ดอกตูมรูปไข่ กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ รูปไข่ กว้าง ๐.๖ - ๐.๘ ซม. ยาว ๐.๗ - ๑.๒ ซม.กลีบหนา ปลายแหลม กลีบดอก ๔ กลีบ ร่วงง่าย รูปใบหอก กว้าง ๐.๑ - ๐.๒ ซม. ยาว ๐.๗ - ๑.๒ ซม. สีเหลืองอมเขียวหรือเหลืองอ่อน ขอบกลีบไม่มีขน เกสรเพศผู้ ๑๒ อัน ผลคล้ายรูปไข่กลับ ยาว ๒ - ๓ ซม. สีน้ำตาลคล้ำ ผิวค่อนข้างขรุขระ เมล็ดงอกได้ในขณะที่ผลยังติดอยู่กับต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียงโค้งเล็กน้อย ยาว ๓๐ - ๔๐ ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑ - ๑.๒ ซม.
- ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 25-30 ม. เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำและแผ่กว้าง มักแตกกิ่งทำมุมเอียงขึ้นกับลำต้น มีรากค้ำยัน สูง 3-8 ม. รากค้ำยันแตกแขนงระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ โคนรากทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้นแล้วหักศอกลงดินเกือบเป็นมุมฉาก มักมีรากอากาศแตกตามกิ่ง เปลือกสีเทาคล้ำหรือสีเทาอมชมพู เรียบแล้วแตกเป็นร่องตามยาวตื้น ๆ
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบรูปรี ถึงรูปขอบขนานแกมรูปรี ขนาด 4-8x8-18 ซม. โคนใบเป็นรูปลิ่มถึงมน ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลมอ่อนสีดำ เส้นใบมองไม่ชัดเจน เส้นกลางใบแบนราบ ด้านหลังเป็นสีแดงเรื่อและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน เส้นแขนงใบ 7-10 คู่ มองเห็นลาง ๆ ผิวใบเกลี้ยง ด้านบนเป็นมันสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีซีดกว่าและมีจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ ทั่วผิวใบ เนื้อใบอวบน้ำและเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาว 2-3 ซม. สีชมพูถึงแดงเรื่อ
ดอก แบบช่อกระจุกด้านเดียว ออกตามง่ามใบหรือเหนือรอยแผลใบใกล้ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 0.6-2 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 1 คู่ ไม่มีก้านดอก ดอกตูมรูปไข่ ยาว 1.2-1.6 ซม. ใบประดับที่ฐานดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายหยักมนถี่ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปถ้วยตื้น ปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปไข่ สีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว หนา แข็ง ปลายแหลมบานออก กลีบดอก 4 กลีบ รูปใบหอก เกลี้ยง แยกกัน และหลุดร่วงง่าย ออกดอกตลอดทั้งปี
ผล แบบผลมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปทรงไข่กลับปลายคอด ยาว 2-3 ซม. ผิวหยาบ ค่อนข้างขรุขระ สีน้ำตาลคล้ำ ผลจะงอกตั้งแต่ยังติดอยู่บนต้น (Viviparous) ลำต้นใต้ใบเลี้ยง (ฝัก) คล้ายรูปทรงกระบอก ขนาด 1-1.5x20-40 ซม. มักโค้งงอทางด้านยอดฝักแล้วเหียดตรงและขยายใหญ่ที่ส่วนปลาย ออกผลตลอดทั้งปี
- ไม้ต้น
- ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๕ - ๓๕ เมตร มีรากเสริมหรือรากค้ำยันลำต้น เปลือก แตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับตั้งฉาก รูปรี กว้าง ๔ - ๘ ซม. ยาว ๗ - ๑๘ ซม. ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม เส้นกลางใบด้านล่างสีออกแดงหรือชมพูอมแดง แผ่นใบหนา ก้านใบยาว ๑.๕ - ๓.๕ ซม. มักมีสีออกแดง หูใบแคบ ปลายแหลมยาว เห็นชัดที่ปลายกิ่ง สีชมพู ร่วงง่าย ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบที่ใบร่วงแล้ว ดอกตูมรูปไข่ กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ รูปไข่ กว้าง ๐.๖ - ๐.๘ ซม. ยาว ๐.๗ - ๑.๒ ซม.กลีบหนา ปลายแหลม กลีบดอก ๔ กลีบ ร่วงง่าย รูปใบหอก กว้าง ๐.๑ - ๐.๒ ซม. ยาว ๐.๗ - ๑.๒ ซม. สีเหลืองอมเขียวหรือเหลืองอ่อน ขอบกลีบไม่มีขน เกสรเพศผู้ ๑๒ อัน ผลคล้ายรูปไข่กลับ ยาว ๒ - ๓ ซม. สีน้ำตาลคล้ำ ผิวค่อนข้างขรุขระ เมล็ดงอกได้ในขณะที่ผลยังติดอยู่กับต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียงโค้งเล็กน้อย ยาว ๓๐ - ๔๐ ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑ - ๑.๒ ซม.
การกระจายพันธุ์ :
- พบตามฝั่งทะเลศรีลังกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงภาคเหนือของออสเตรเลีย
- ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และตอนเหนือของออสเตรเลีย
- พบตามฝั่งทะเลศรีลังกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงภาคเหนือของออสเตรเลีย
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
- ป่าชายเลนคุระบุรี, อ่าวจาก คลองคุระบุรี ชายฝั่งคุระบุรี
- อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะอ่างทอง
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- พังงา
- สุราษฎร์ธานี
- กระบี่
- สมุทรปราการ
- พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้ต้น (Tree)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Dry
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ