ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขาเหรง
-
อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน
-
อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซับลังกา
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยผาช้าง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงลอ
-
ป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู หนองคาย
-
บ้านทำนบ หมู่ที่ 4 ต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก (Small tree)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตรง สูง 1-14 ม. พบบ้างที่เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เปลือกเรียบ สีเทาถึงน้ำตาลอมเทา
ใบ ประกอบแบบขนนกมีสามใบย่อย เรียงเวียนสลับ ใบย่อยคู่ข้างขนาด 2-5x5-8 ซม. ใบยอดขนาด 3-6x8-15 ซม. แผ่นใบรูปไข่ รูปไข่กว้าง รูปรีถึงรูปใบหอก โคนใบแหลมเยื้อง ขอบใบหยักมนถึงจักฟันเลื่อยห่างๆ เหนือกึ่งกลางใบ ปลายใบทื่อถึงแหลมและมักเป็นติ่งหนามสั้น เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยกตัวและยื่นพ้นปลายใบเป็นติ่งหนาม เส้นแขนง 5-10 คู่ ปลายเส้นจรดที่ปลายหยัก ของขอบใบ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห เนื้อใบบาง ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้น ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบยาว 1.5-4 ซม. โคนบวมและมีร่องยาวตามแนวก้าน ก้านใบย่อยคู่ข้างยาว 0.1-0.3 ซม. ส่วนก้านใบยอดยาว 0.5 ซม.
ดอก แบบช่อเชิงลดมีก้าน ออกตามง่ามใบ ช่อดอกเรียวยาว 6-20 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วย ดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยขนาดเล็ก ไม่สมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้างเยื้อง ๆ สีขาวหรือเหลืองอ่อน ขนาด 0.2x0.3 ซม. ก้านดอกย่อยสั้น กลีบเลี้ยงแยกกันเป็นอิสระ 4 กลีบ รูปไข่ถึงรูปไข่กลับ ขนาด 0.1-0.2x0.1-0.25 ซม. โคนก้านเกสรมีขน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 เมล็ด มักพัฒนาเป็นผลเพียงช่องเดียว ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี
ผล แบบผลเมล็ดเดียวแข็ง ทรงกลมหรือทรงไข่กลับ ผิวเกลี้ยง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4-0.6 ซม. ออกเป็นพวงตั้งขึ้น ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดง ออกผลเกือบตลอดทั้งปี
ใบ ประกอบแบบขนนกมีสามใบย่อย เรียงเวียนสลับ ใบย่อยคู่ข้างขนาด 2-5x5-8 ซม. ใบยอดขนาด 3-6x8-15 ซม. แผ่นใบรูปไข่ รูปไข่กว้าง รูปรีถึงรูปใบหอก โคนใบแหลมเยื้อง ขอบใบหยักมนถึงจักฟันเลื่อยห่างๆ เหนือกึ่งกลางใบ ปลายใบทื่อถึงแหลมและมักเป็นติ่งหนามสั้น เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยกตัวและยื่นพ้นปลายใบเป็นติ่งหนาม เส้นแขนง 5-10 คู่ ปลายเส้นจรดที่ปลายหยัก ของขอบใบ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห เนื้อใบบาง ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้น ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบยาว 1.5-4 ซม. โคนบวมและมีร่องยาวตามแนวก้าน ก้านใบย่อยคู่ข้างยาว 0.1-0.3 ซม. ส่วนก้านใบยอดยาว 0.5 ซม.
ดอก แบบช่อเชิงลดมีก้าน ออกตามง่ามใบ ช่อดอกเรียวยาว 6-20 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วย ดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยขนาดเล็ก ไม่สมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้างเยื้อง ๆ สีขาวหรือเหลืองอ่อน ขนาด 0.2x0.3 ซม. ก้านดอกย่อยสั้น กลีบเลี้ยงแยกกันเป็นอิสระ 4 กลีบ รูปไข่ถึงรูปไข่กลับ ขนาด 0.1-0.2x0.1-0.25 ซม. โคนก้านเกสรมีขน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 เมล็ด มักพัฒนาเป็นผลเพียงช่องเดียว ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี
ผล แบบผลเมล็ดเดียวแข็ง ทรงกลมหรือทรงไข่กลับ ผิวเกลี้ยง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4-0.6 ซม. ออกเป็นพวงตั้งขึ้น ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดง ออกผลเกือบตลอดทั้งปี
การกระจายพันธุ์ :
-
ประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า อินโดจีน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตลอดถึงนิวกินี
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
สงขลา
-
เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์
-
สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
-
ลพบุรี
-
พะเยา, น่าน
-
ชัยภูมิ
-
ราชบุรี
-
พะเยา
-
หนองคาย
-
สุรินทร์
ที่มาของข้อมูล
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
กรมป่าไม้
-
หนังสือ พรรณไม้มีคุณค่าจากป่าสาธารณะประโยชน์ บ้านทำนบ, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช