ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ต้น สูง 3 - 10 เมตร ลำต้น โค้ง แตกกิ่งในระดับต่ำ กิ่งมีขนรูปโล่ เรือนยอดแผ่กว้างค่อนข้างหนาทึบ เปลือกเรียบสีเทาอ่อน หรือขรุขระ มีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปคล้ายหัวใจ ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบรูปหัวใจ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 5 - 7 เส้น ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านท้องใบสีเทาแกมน้ำตาล มีเกล็ด มีหูใบรูปใบหอก ดอก สีเหลือง ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกตามง่ามใบ มีจุดสีแดงเข้มอมน้ำตาล แต้มที่โคนกลีบดอกด้านใน ดอกบานเต็มที่ภายในวันเดียว แล้วจะเปลี่ยนสีเป็นชมพูแกมม่วงอ่อน เหี่ยวบนต้น ก่อนร่วงหล่นในวันถัดมา เกสรเพศผู้จำนวนมากสีเหลืองจางๆ มีอับเรณูติดอยู่ตลอดความยาวของหลอด ผล แห้งแตกค่อนข้างกลม เปลือกแข็ง มีวงกลีบเลี้ยงรูปคล้ายจานอยู่ที่ขั้วผล ผลแก่แห้งติดอยู่บนต้น ไม่ร่วงหล่น เมล็ดขนาดเล็ก มีหลายเมล็ด คล้ายรูปสามเหลี่ยม
-
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง 2–15 ม. มีเกล็ดรูปโล่ตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ก้านดอก ริ้วประดับ และกลีบเลี้ยง หูใบรูปใบหอก ยาวได้ถึง 1 ซม. ใบรูปไข่หรือรูปหัวใจ ยาว 7–23 ซม. ปลายยาวคล้ายหาง โคนตัดหรือรูปหัวใจ เส้นโคนใบข้างละ 2–3 เส้น เส้นแขนงใบข้างละ 3–5 เส้น ก้านใบยาว 3–11 ซม. ใบประดับคล้ายเกล็ด 2 อัน ติดที่โคนก้านดอก ก้านดอกยาว 1–8 ซม. ริ้วประดับรูปเส้นด้าย ยาว 0.8–1.5 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงกว้าง 1.2–2.5 ซม. ติดทน ดอกสีเหลือง โคนด้านในมีปื้นสีม่วงอมแดง เปลี่ยนเป็นสีแดงชมพูก่อนร่วง กลีบดอกรูปไข่กลับ เบี้ยว ยาว 5–7 ซม. ด้านนอกมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง หลอดเกสรเพศผู้ยาว 2–2.5 ซม. ก้านชูอับเรณูยาว 2–5 มม. อับเรณูรูปคล้ายไต ยอดเกสรเพศเมียยาว 0.5–1 ซม. ผลแห้งไม่แตก กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5–4 ซม. มี 5 สัน มีน้ำยางสีเหลือง ก้านผลยาว 2–8 ซม. แต่ละช่องมี 4 เมล็ด รูปสามเหลี่ยม ยาว 0.8–1.5 ซม. โคนมีขนสีน้ำตาลคล้ายไหม
-
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 8-15 ม. เรือนยอดแผ่กว้าง ค่อนข้างแน่นทึบ ลำต้นคดงอ แตกกิ่งต่ำ เปลือกเรียบสีเทาอ่อนแล้วเปลี่ยนเป็นผิวขรุขระและมีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึกเมื่ออายุมากขึ้น มีช่องอากาศกระจายทั่วไป เปลือกในเป็นเส้นใยเหนียว ลอกออกจากลำต้นได้ง่าย
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ ขนาด 5-12x8-15 ซม. โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม เส้นใบแบบร่างแหนิ้วมือ มีเส้นใบหลักออกจากโคนใบ 5-7 เส้น ไม่มีต่อมใกล้โคนเส้น เส้นแขนงออกจากแกนกลางใบ 4- 6 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห ผิวใบด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมันวาว ด้านล่างสีซีดกว่า มีเกล็ดรูปดาวสีเทาอมน้ำตาลปกคุลม เนื้อใบบางคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาว 5-15 ซม. หูใบออกเป็นคู่ รูปใบหอก ยาว 0.3-1 ซม. หลุดร่วงเร็ว ใบอ่อนที่ยอดมีเกล็ดสีเทาอมน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น
ดอก เดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกตามง่ามใบ ดอกขนาดใหญ่คล้ายกระโปรงสีเหลือง กลางดอกมีแต้มจุดสีแดงเข้มอมน้ำตาล 5 ดวง ไม่ติดกัน เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 ซม. ดอกบานเต็มที่ภายในวันเดียวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูแกมม่วงอ่อน เหี่ยวบนต้นก่อนหลุดร่วง ก้านดอกอวบสั้น ตั้งชูขึ้น ยาว 2-5 ซม. ฐานดอกมียางสีเหลือง มีริ้วประดับ 3 แฉก รูปสามเหลี่ยม เรียว ยาถึง 1.5 ซม. หลุดร่วงง่าย กลีบเลี้ยง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยหรือระฆังกว้าง เนื้อหนาคล้ายแผ่นหนัง ไม่มีแฉก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. แผ่กว้างออกคล้ายรูปจานเมื่อเป็นผล ทั้งก้านดอก ริ้วประดับ และกลีบเลี้ยงมีเกล็ดสีเทา อมน้ำตาลปกคลุม กลีบดอกขนาดใหญ่ 5 กลีบ รูปไข่กลับ กว้างและยาวประมาณ 6 ซม. เรียงบิดเวียน โคนกลีบชิดกันคล้ายรูประฆัง ด้านในมีแต้มสีแดง เกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมติดกันเป็นหลอดหุ้มรอบเกสรเพศเมีย ยาวประมาณ 2.5 ซม. สีเหลืองอ่อน ออกดอกเป็นช่วงๆ เกือบตลอดปี
ผล แบบผลแห้งแตกไม่มีทิศทาง รูปทรงกลมแป้น ปลายมนหรือแบนเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. เปลือกแข็ง มีเกล็ดปกคลุมและหลุดร่วงไปเมื่ออายุมากขึ้น ผลแก่แห้งติดอยู่บนต้น ไม่ร่วงหล่น ผลสด มียางสีเหลือง ภายในมี 5 ช่อง แต่ละช่องมี 4 เมล็ด เมล็ดรูปทรงไข่กลับ เป็นเหลี่ยม มีขนยาวนุ่ม สีน้ำตาลปกคลุม ออกผลเป็นช่วงๆ เกือบตลอดปี
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ ขนาด 5-12x8-15 ซม. โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม เส้นใบแบบร่างแหนิ้วมือ มีเส้นใบหลักออกจากโคนใบ 5-7 เส้น ไม่มีต่อมใกล้โคนเส้น เส้นแขนงออกจากแกนกลางใบ 4- 6 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห ผิวใบด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมันวาว ด้านล่างสีซีดกว่า มีเกล็ดรูปดาวสีเทาอมน้ำตาลปกคุลม เนื้อใบบางคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาว 5-15 ซม. หูใบออกเป็นคู่ รูปใบหอก ยาว 0.3-1 ซม. หลุดร่วงเร็ว ใบอ่อนที่ยอดมีเกล็ดสีเทาอมน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น
ดอก เดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกตามง่ามใบ ดอกขนาดใหญ่คล้ายกระโปรงสีเหลือง กลางดอกมีแต้มจุดสีแดงเข้มอมน้ำตาล 5 ดวง ไม่ติดกัน เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 ซม. ดอกบานเต็มที่ภายในวันเดียวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูแกมม่วงอ่อน เหี่ยวบนต้นก่อนหลุดร่วง ก้านดอกอวบสั้น ตั้งชูขึ้น ยาว 2-5 ซม. ฐานดอกมียางสีเหลือง มีริ้วประดับ 3 แฉก รูปสามเหลี่ยม เรียว ยาถึง 1.5 ซม. หลุดร่วงง่าย กลีบเลี้ยง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยหรือระฆังกว้าง เนื้อหนาคล้ายแผ่นหนัง ไม่มีแฉก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. แผ่กว้างออกคล้ายรูปจานเมื่อเป็นผล ทั้งก้านดอก ริ้วประดับ และกลีบเลี้ยงมีเกล็ดสีเทา อมน้ำตาลปกคลุม กลีบดอกขนาดใหญ่ 5 กลีบ รูปไข่กลับ กว้างและยาวประมาณ 6 ซม. เรียงบิดเวียน โคนกลีบชิดกันคล้ายรูประฆัง ด้านในมีแต้มสีแดง เกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมติดกันเป็นหลอดหุ้มรอบเกสรเพศเมีย ยาวประมาณ 2.5 ซม. สีเหลืองอ่อน ออกดอกเป็นช่วงๆ เกือบตลอดปี
ผล แบบผลแห้งแตกไม่มีทิศทาง รูปทรงกลมแป้น ปลายมนหรือแบนเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. เปลือกแข็ง มีเกล็ดปกคลุมและหลุดร่วงไปเมื่ออายุมากขึ้น ผลแก่แห้งติดอยู่บนต้น ไม่ร่วงหล่น ผลสด มียางสีเหลือง ภายในมี 5 ช่อง แต่ละช่องมี 4 เมล็ด เมล็ดรูปทรงไข่กลับ เป็นเหลี่ยม มีขนยาวนุ่ม สีน้ำตาลปกคลุม ออกผลเป็นช่วงๆ เกือบตลอดปี
-
ไม้ต้น สูง 3 - 10 เมตร
ลำต้น : โค้ง แตกกิ่งในระดับต่ำ กิ่งมีขนรูปโล่ เรือนยอดแผ่กว้างค่อนข้างหนาทึบ เปลือกเรียบสีเทาอ่อน หรือขรุขระ มีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก
ใบ : เดี่ยว เรียงสลับ รูปคล้ายหัวใจ ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบรูปหัวใจ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 5 - 7 เส้น ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านท้องใบสีเทาแกมน้ำตาล มีเกล็ด มีหูใบรูปใบหอก
ดอก : สีเหลือง ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกตามง่ามใบ มีจุดสีแดงเข้มอมน้ำตาล แต้มที่โคนกลีบดอกด้านใน ดอกบานเต็มที่ภายในวันเดียว แล้วจะเปลี่ยนสีเป็นชมพูแกมม่วงอ่อน เหี่ยวบนต้น ก่อนร่วงหล่นในวันถัดมา เกสรเพศผู้จำนวนมากสีเหลืองจางๆ มีอับเรณูติดอยู่ตลอดความยาวของหลอด
ผล : แห้งแตกค่อนข้างกลม เปลือกแข็ง มีวงกลีบเลี้ยงรูปคล้ายจานอยู่ที่ขั้วผล ผลแก่แห้งติดอยู่บนต้น ไม่ร่วงหล่น เมล็ดขนาดเล็ก มีหลายเมล็ด คล้ายรูปสามเหลี่ยม
ลำต้น : โค้ง แตกกิ่งในระดับต่ำ กิ่งมีขนรูปโล่ เรือนยอดแผ่กว้างค่อนข้างหนาทึบ เปลือกเรียบสีเทาอ่อน หรือขรุขระ มีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก
ใบ : เดี่ยว เรียงสลับ รูปคล้ายหัวใจ ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบรูปหัวใจ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 5 - 7 เส้น ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านท้องใบสีเทาแกมน้ำตาล มีเกล็ด มีหูใบรูปใบหอก
ดอก : สีเหลือง ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกตามง่ามใบ มีจุดสีแดงเข้มอมน้ำตาล แต้มที่โคนกลีบดอกด้านใน ดอกบานเต็มที่ภายในวันเดียว แล้วจะเปลี่ยนสีเป็นชมพูแกมม่วงอ่อน เหี่ยวบนต้น ก่อนร่วงหล่นในวันถัดมา เกสรเพศผู้จำนวนมากสีเหลืองจางๆ มีอับเรณูติดอยู่ตลอดความยาวของหลอด
ผล : แห้งแตกค่อนข้างกลม เปลือกแข็ง มีวงกลีบเลี้ยงรูปคล้ายจานอยู่ที่ขั้วผล ผลแก่แห้งติดอยู่บนต้น ไม่ร่วงหล่น เมล็ดขนาดเล็ก มีหลายเมล็ด คล้ายรูปสามเหลี่ยม
ระบบนิเวศ :
-
ขึ้นตามป่าชายเลน ป่าชายหาด หรือตามชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลท่วมถึง เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด แต่ต้องมีความชุ่มชื้นอยู่สม่ำเสมอและต้องการน้ำมาก
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
สมุทรปราการ
-
สมุทรปราการ
-
สงขลา, พัทลุง
-
พัทลุง, สงขลา
-
สุราษฎร์ธานี
-
สมุทรปราการ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
บางกระเจ้า
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง
-
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทะเลสาบสงขลา
-
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทะเลหลวง
-
อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะอ่างทอง
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก (Small tree)
การกระจายพันธุ์ :
-
ชายฝั่งทะเลเขตร้อน
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
-
ราก ลำต้น ดอก ผล เมล็ด
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
-
สมุนไพร
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
ราก : เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ลดไข้ เป็นยาบำรุง
ลำต้น : แก้ผิวหนังพุพอง รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย แก้บิด ฝาดสมาน
แก้ระคายเคือง แก้อักเสบ แก้อหิวาตกโรค แก้เบาหวาน แก้ไอ แก้กลาก
ใบ : ใช้ทำผงยาใส่แผลสด แผลเรื้อรัง และเป็นยาระบาย
ดอก : ใช้ต้มกับน้ำนมหยอดหูรักษาอาการเจ็บในหู
ผล : นำมาคั้นเป็นน้ำใช้กัดหูด
เมล็ด : ใช้แก้อาการปวดหัวข้างเดียว
-
เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2017)
ที่มาของข้อมูล
-
กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
-
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
ไม้ต้นที่มีสรรพคุณทางสมุนไพร และควรนำมาขยายพันธุ์เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวคุ้งบางกะเจ้าสู่ความยั่งยืน, กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2562
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
IUCN Red List
-
พื้นที่บางกระเจ้า