ข้อมูลเฉพาะพื้นที่
สถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
สถานตากอากาศบางปู
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี (สถานตากอากาศบางปู) ตั้งอยู่ภายในบริเวณกองอำนวยการสถานพักผ่อน (สถานตากอากาศบางปู) กรมพลาธิการทหารบก โดยสถานตากอากาศบางปู มีพื้นที่ 639 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ป่าชายเลน นากุ้งเก่า ร้านอาหาร บ้านพัก
และพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติฯ พื้นที่ 338 ไร่ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ ประกอบด้วย ระบบนิเวศสำคัญ 3 แบบ ได้แก่
1.) ที่ลุ่มน้ำเค็ม พื้นที่ 24 ไร่ (ร้อยละ 7) เป็นลักษณะของบ่อน้ำ ที่มีการปรับปรุงให้เป็นพื้นที่โล่ง เพื่อเป็นแหล่งรองรับนกในฤดูกาลอพยพ และมีการระบายน้ำ ตามการขึ้น-ลงของน้ำทะเล
2.) หาดโคลน พื้นที่ 64 ไร่ (ร้อยละ 19) เป็นพื้นที่โล่งกว้าง จะมีนกอพยพมาหากินในฤดูกาลอพยพ เป็นดินโคลนปากแม่น้ำเจ้าพระยา แหล่งอาศัยของสัตว์หน้าดินจำนวนมาก
3.) ป่าชายเลน 250 ไร่ (ร้อยละ 74) ประกอบด้วย ป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งร้อยละ 10 และบริเวณด้านหลังชายฝั่งร้อยละ 64
ความสำคัญของพื้นที่
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี (สถานตากอากาศบางปู) เป็นพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นก (Important Bird & Biodiversity Area) ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ทั้งนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเสนอชื่อเป็น พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) และพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการเข้าร่วมภาคีความร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์นกน้ำอพยพและการใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืนในเส้นทางอพยพเอเชียตะวันออก –ออสเตรเลีย (Partnership for the Conversation of Migratory Waterbirds and the Sustainable use of their Habitat in the East Asian – Australasian Flyway หรือ East Asian – Australasian Flyway Partnership: EAAFP) นับได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญระดับโลกและเป็นมรดกธรรมชาติของจังหวัดสมุทรปราการที่สำคัญ และยังช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ลดความรุนแรงของพายุ รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ใกล้เมืองที่มีความน่าสนใจในด้านการศึกษาถึงคุณค่าและความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ
สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี (สถานตากอากาศบางปู) เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง มีต้นไม้หลากหลายชนิด และที่สำคัญยังเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของนกนานาพันธุ์ และสัตว์ที่อาศัยตามป่าชายเลนอีกหลายชนิด และเมื่อหน้าหนาวมาถึง จะมีแขกจากแดนไกลมาเยี่ยมมาเยือนมากมาย เพราะที่นี่เป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์มากๆ ของนกหลากหลายพันธุ์ จึงมีนกน้ำแวะมาเติมพลังก่อนจะเดินทางต่อไปยังที่อื่นถึงกว่าปีละ 10,000 - 20,000 ตัว รวมทั้งนกนางนวลที่เป็นสัญลักษณ์ของที่นี่ก็จะบินมาอีกราวๆ 5,000 -10,000 ตัวต่อปี นกที่นี่มีมากมายกว่า 200 ชนิด ทั้งนกอพยพ และนกประจำถิ่น
• ความหลากหลายของพืช
จากการสำรวจและบันทึกไว้ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาฯ มีทั้งหมด 66 ชนิด โดยพืชที่พบมากที่สุด คือ แสมทะเล (Avicennia marina (Forssk.) Vierh.)
แสมขาว (Avicennia alba Blume ) โกงกางใบเล็ก (Rhizophora mucronata Lam.) และโกงกางใบใหญ่ (Rhizophora apiculata Blume )
(Avicennia marina (Forssk.) Vierh.)
(Avicennia alba Blume )
(Rhizophora mucronata Lam.)
(Rhizophora apiculata Blume)
• ความหลากหลายของสัตว์
นก
พบพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทั้งสิ้น 6 วงศ์ (Families) 8 สกุล (Fenus) 11 ชนิด (Species) มีความหนาแน่นรวมของต้นไม้เท่ากับ 166.09 ต้นต่อไร่ พันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุดอยู่ในวงศ์ Acanthaceae ชนิดที่มีความหนาแน่นมากที่สุด คือ แสมขาว (Avicennia alba) มีความหนาแน่นเท่ากับ 119.34 ต้นต่อไร่ รองลงมา คือ แสมทะเล (Avicennia marina) และตะบูนขาว (Xylocarpus granatum) มีความหนาแน่นเท่ากับ 28.49 และ 9.22 ต้นต่อไร่ ตามลำดับ ความโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับอกเฉลี่ย (DBH) เท่ากับ 14.81 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ย (H) เท่ากับ 9.50 เมตร ค่าดัชนีความสำคัญ (ImportantValueIndex ; IVI) สูงที่สุด คือ แสมขาว มีค่าเท่ากับ 232.33 รองลงมา คือ แสมทะเล และตะบูนขาว มีค่าเท่ากับ 37.74 และ 13.25 ตามลำดับ ค่าดัชนีความความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ (Shannon-Wienerdiversityindex ; H’) เท่ากับ 0.934 ค่าความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ของมาร์กาเรฟ (Margalef’sindex ; d) เท่ากับ 1.269 และค่าดัชนีความสม่ำเสมอทางชนิดพันธุ์ของพีลู (Pielou’sevenness ; J’) เท่ากับ 0.389
แมลง
จากการสำรวจพบแมลงในพื้นที่ป่าชายเลน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) แมลงที่กินพืชเป็นอาหาร (Herbivore) เช่น ด้วงเต่าแตงแดง (Aulacophora indica), ด้วงงวง (Curculionidae sp.) และ ด้วงหลังงุ้ม (Mordellidae sp.) เป็นต้น
2) แมลงที่กินสัตว์เป็นอาหาร (Carnivor) เช่น แมลงปอบ้านบ่อ (Crocothemis servilia), แมลงปอบ้านใหม่เฉียง (Neurothemis fluctuans) และแมลงปอบ้านใต้ผู้ม่วง (Trithemis aurora) เป็นต้น
3) แมลงที่ช่วยผสมเกสร (Pollinator) เช่น ผีเสื้อกลางคืน (Entomogramma sp.), ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก (Acraea violae) และผีเสื้อเณรธรรมดา (Eurema hecabe) เป็นต้น
โดยพบแมลงที่อยู่ในสถานภาพการอนุรักษ์ตาม IUCN Red List (2016) ในระดับ Least Concern (LC) คือ กังวลน้อย ได้แก่ แมลงปอบ้านบ่อ (Crocothemis servilia), แมลงปอบ้านใหม่เฉียง (Neurothemis fluctuans) และแมลงปอบ้านใต้ผู้ม่วง (Trithemis aurora)