ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ระบบนิเวศ :
- Scrub, open grasslands.
การกระจายพันธุ์ :
- India, China, Myanmar, Laos, Cambodia.
- พบตามพื้นที่โล่งในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ต่างประเทศพบในพม่า และอินเดีย
- พบตามพื้นที่โล่งในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ต่างประเทศพบในพม่า และอินเดีย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- Northern,Northeastern
- ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน
- สุรินทร์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ใบ 2 - 3 ใบ ใบแผ่ราบกับพื้นดิน ใบรูปกลมแกมรูปไข่ สีเขียว ขอบใบสีแดงคลํ้า มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ ช่อดอกออกเป็นช่อตรงกลางระหว่างใบ ใบประดับสีขาวแกมเขียว กลีบดอกและสเตมิโนดสีขาว กลีบปากสีขาวมีแต้มสีม่วงที่โคนกลีบ ปลายเว้าลึก ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูมีรยางค์สีขาว
- ใบ 2 - 3 ใบ ใบแผ่ราบกับพื้นดิน ใบรูปกลมแกมรูปไข่ สีเขียว ขอบใบสีแดงคลํ้า มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ ช่อดอกออกเป็นช่อตรงกลางระหว่างใบ ใบประดับสีขาวแกมเขียว กลีบดอกและสเตมิโนดสีขาว กลีบปากสีขาวมีแต้มสีม่วงที่โคนกลีบ ปลายเว้าลึก ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูมีรยางค์สีขาว
- จัดเป็นพืชลงหัวขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีเหง้าสั้น และรากเป็นกระจุก หัวเปราะป่า หรือเหง้าสั้น และมีขนาดเล็ก ลักษณะของเหง้าเป็นรูปทรงกลม สีน้ำตาล ที่ผิวมีรอยข้อปล้องอย่างชัดเจน ออกรากจากเหง้าหลักเป็นเส้นกลมยาว เหง้ามีกลิ่นหอม รสร้อนเผ็ดและขมจัด
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- สุรินทร์
- บ้านทำนบ หมู่ที่ 4 ต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ใบ - มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะม้วนเป็นกระบอกตั้งขึ้น เมื่อแก่จะแผ่ราบบนหน้าดิน ใบไม่มีก้านใบ ในหนึ่งต้นจะมีใบเพียง 2 ใบ ใบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบมีสีม่วงแดง ลักษณะของเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม หลังใบเรียบ ด้านล่างมีขน มีขนาดความกว้างประมาณ 8-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-11.5 เซนติเมตร มีกาบใบยาวประมาณ 5 เซนติเมตร กาบใบที่ไม่มีใบจะยาวประมาณ 3 เซนติเมตร มีลิ้นใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร
ดอก - ช่อดอกแทงออกมาจากตรงกลางระหว่างกาบใบทั้งสอง มีกลีบดอกเป็นหลอดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบรูปแถบ กลีบหลังยาว และมีขนาดกว้างกว่ากลีบข้าง โดยกลีบหลังจะมีความยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ส่วนกลีบข้างจะกว้างประมาณ 0.3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.4 เซนติเมตร ดอกเปราะป่ามีสีขาว กลีบดอกมีลักษณะบอบบาง มีดอกย่อยประมาณ 6-8 ดอก มีใบประดับสีขาวอมเขียว ลักษณะเป็นรูปใบหอก กว้างประมาณ 1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3.2 เซนติเมตร โดยเกสรตัวผู้ที่เป็นหมันจะมีสีขาว ลักษณะเป็นรูปไข่กลับแกมรูปลิ่ม มีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ที่กลีบปากมีสีม่วง มีแถบสีขาวอยู่ระหว่างเส้นกลางกลีบกับขอบกลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลีบแกมรูปลิ่ม กว้างประมาณ 1.8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.2 เซนติเมตร มีปลายหยักและลึกมาก เกสตัวผู้นั้นเกือบไม่มีก้านหรืออาจมีก้านยาวเพียง 1 มิลลิเมตร ส่วนอับเรณูจะยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร มีรังไข่ขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตรและส่วนปลายแยกเป็น 2 แฉก
ผล - ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ มีสีขาว แตกเป็น 3 พู ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่ มีสีน้ำตาล
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- หัวหรือเหง้าใต้ดินใช้ผสมกับตัวยาอื่นเพื่อเข้าตำรับยา ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ใช้เป็นยาแก้ไข้ ช่วยแก้หวัด โดยใช้หัวตำผสมกับหัวหอม ใช้สุมกระหม่อมเด็กจะช่วยบรรเทาอาการได้ ช่วยแก้อาการไอ ช่วยแก้กำเดา โดยใช้หัวตำผสมกับหัวหอม ใช้สุมกระหม่อมเด็ก ดอกเปราะป่าช่วยแก้อาการอักเสบตาแฉะ ใช้รักษาเด็กที่ชอบนอนผวาตาเหลือกช้อนดูหลังคา น้ำคั้นจากใบและเหง้านำมาใช้ป้ายคอ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ หัวมีสรรพคุรเป็นยาแก้เสมหะ ช่วยขับลมในลำไส้
ที่มาของข้อมูล