ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ยืนต้น สูง 15-30 เมตร เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม ใบ แบบใบประกอบแบบขนนก ยาว 5-10 ซม. กว้าง 2-4 ซม. ใบย่อย รูปขอบขนาน จำนวน 10-20 คู่ ออกตรงข้าม ยาว 1.2-2 ซม. กว้าง 3-5 มม. ขอบใบเรียบ ปลายเป็นติ่งแหลม ช่อดอก แบบช่อเชิงลดห้อยลง ก้านช่อดอก ยาว 5-10 มม. กลีบเลี้ยง เป็นแผ่นรูปช้อน 2 แผ่น ยาว1-1.2 ซม. กลีบดอก มี 5 กลีบ กลีบเจริญ 3 กลีบ สีเหลืองอ่อนมีเส้นภายในสีแดง กลีบดอก 2 กลีบ ลดรูป เกสรเพศผู้ มีก้านเกสรเชื่อมติดกัน เกสรที่สมบูรณ์ 3 อัน อีก 2 อัน เป็นเส้นเรียว เกสรเพศเมีย เหนือกลีบเลี้ยง ปลายเกสร เป็นก้อนรูปรี ผล แบบฝัก โค้ง ค่อนข้างแบน ยาว 7-15 ซม. กว้าง 2-3 ซม. เปลือกเมื่อแก่สีน้ำตาลเข้ม เมล็ด สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
- ไม้ยืนต้น สูง 15-30 เมตร เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม ใบ แบบใบประกอบแบบขนนก ยาว 5-10 ซม. กว้าง 2-4 ซม. ใบย่อย รูปขอบขนาน จำนวน 10-20 คู่ ออกตรงข้าม ยาว 1.2-2 ซม. กว้าง 3-5 มม. ขอบใบเรียบ ปลายเป็นติ่งแหลม ช่อดอก แบบช่อเชิงลดห้อยลง ก้านช่อดอก ยาว 5-10 มม. กลีบเลี้ยง เป็นแผ่นรูปช้อน 2 แผ่น ยาว1-1.2 ซม. กลีบดอก มี 5 กลีบ กลีบเจริญ 3 กลีบ สีเหลืองอ่อนมีเส้นภายในสีแดง กลีบดอก 2 กลีบ ลดรูป เกสรเพศผู้ มีก้านเกสรเชื่อมติดกัน เกสรที่สมบูรณ์ 3 อัน อีก 2 อัน เป็นเส้นเรียว เกสรเพศเมีย เหนือกลีบเลี้ยง ปลายเกสร เป็นก้อนรูปรี ผล แบบฝัก โค้ง ค่อนข้างแบน ยาว 7-15 ซม. กว้าง 2-3 ซม. เปลือกเมื่อแก่สีน้ำตาลเข้ม เมล็ด สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
การกระจายพันธุ์ :
- มีถิ่นกำเนิดที่เกาะมาดากัสกาแพร่กระจายแอฟริกาตะวันออกและอินเดีย
- มีถิ่นกำเนิดที่เกาะมาดากัสกาแพร่กระจายแอฟริกาตะวันออกและอินเดีย
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- พื้นที่เกษตรกรรมริมน้ำนนทบุรีและเกาะเกร็ด
- อุทยานแห่งชาติ เขาสามร้อยยอด
- อุทยานแห่งชาติ ภูแลนคา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาอ่างฤาไน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ถ้ำเจ้าราม
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ผาผึ้ง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูวัว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่ตื่น
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุ้มผาง
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- นนทบุรี
- พื้นที่ชุ่มน้ำบึงราชนก/พิษณุโลก
- ประจวบคีรีขันธ์
- ชัยภูมิ
- ชลบุรี
- ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, สระแก้ว
- สุโขทัย, ลำปาง
- กาญจนบุรี, ตาก
- ชัยภูมิ
- บึงกาฬ
- ตาก
- ราชบุรี
- ตาก
- สมุทรปราการ
- นนทบุรี
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- - ต้นมะขาม : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่
- ใบ : เป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน
- ดอก : ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “มะขามกระดาน”
- เมล็ด : เป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม
- - ต้นมะขาม : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่
- ใบ : เป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน
- ดอก : ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “มะขามกระดาน”
- เมล็ด : เป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม
การขยายพันธุ์ :
- 1. การเพาะเมล็ด
2. การตอนกิ่ง
3. การทาบกิ่ง
- 1. การเพาะเมล็ด
2. การตอนกิ่ง
3. การทาบกิ่ง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- อาหาร,เนื้อไม้ทำเครื่องเรือน ดอกและฝักเป็นอาหาร เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อนๆ
- เนื้อไม้ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก เพราะเป็นไม้ที่เหนียวทน ใบแก่มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิดขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มกับหัวหอม โกรกศรีษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบและใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝัก นำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไปหรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่าและเกลือพอประมาณ รับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนหรือฝี เมล็ดแก่นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกระเทาะเปลือกออก ใช้ประมาณ 20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อน ใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็กได้หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาด ใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2017)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Dry
Dry
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
COUNTRY CULTIVAR
gsno plantname ชนิดพันธุ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ เก็บที่จังหวัด
DOATR 00032 มะขาม Tamarindus indica นครราชสีมา
DOATR 00035 มะขาม Tamarindus indica นครราชสีมา
gsno plantname ชนิดพันธุ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ เก็บที่จังหวัด