ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ปลากระเบนทราย มีผิวลำตัวขรุขระ ส่วนท้ายลำตัวมักมีลายแถบสีน้ำตาลหรือสีเหลือง ขนาดใหญ่สุดที่พบ 26.8 เซนติเมตร
-
- ขนาดความยาว สูงสุด 37 ชม. (TL 96 ชม.) ขนาดทั่วไปที่พบ 15-25 ซม. และขนาดสมบูรณ์เพศของเพศผู้ 20-27 ชม.
- แผ่นลำตัวเกือบเป็นรูปวงกลม มีความยาวมากกว่าความกว้างเล็กน้อย จะงอยปากเป็นมุมแหลมสั้น แถบตุ่มแข็งกลางแผ่นลำตัวกว้าง มีแถวตุ่มนูนแข็งหรือตุ่มหนามที่แนวกลางด้านบนโคนหาง มีเงี่ยง 1-2 อัน ไม่มีแผ่นหนังที่หาง แผ่นลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลออกเหลืองหรือส้ม ด้านท้องสีขาวมีขอบเป็นสีส้มหรือน้ำตาล
- มีรายงานข้อมูลชีววิทยาของปลาชนิดนี้น้อยมาก ซึ่งเป็นชนิดที่ออกลูกเป็นตัว ส่วนใหญ่กินสัตว์หน้าดินขนาดเล็กพวกกุ้งและปูเป็นอาหาร
- แผ่นลำตัวเกือบเป็นรูปวงกลม มีความยาวมากกว่าความกว้างเล็กน้อย จะงอยปากเป็นมุมแหลมสั้น แถบตุ่มแข็งกลางแผ่นลำตัวกว้าง มีแถวตุ่มนูนแข็งหรือตุ่มหนามที่แนวกลางด้านบนโคนหาง มีเงี่ยง 1-2 อัน ไม่มีแผ่นหนังที่หาง แผ่นลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลออกเหลืองหรือส้ม ด้านท้องสีขาวมีขอบเป็นสีส้มหรือน้ำตาล
- มีรายงานข้อมูลชีววิทยาของปลาชนิดนี้น้อยมาก ซึ่งเป็นชนิดที่ออกลูกเป็นตัว ส่วนใหญ่กินสัตว์หน้าดินขนาดเล็กพวกกุ้งและปูเป็นอาหาร
การกระจายพันธุ์ :
-
จังหวัดราชบุรีถึงกาญจนบุรี
-
ในเขตน่านน้ำไทย พบเฉพาะทางฝั่งอ่าวไทย ในแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำเจ้าพระยา
ระบบนิเวศ :
-
บริเวณพื้นแหล่งน้ำที่เป็นโคลนหรือทรายในแม่น้ำ จนถึงปากแม่น้ำ (ความลึกน้ำไม่เกิน 40 เมตร)
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
-
เนื้อนำมาบริโภคได้ ส่วนปลาที่มีชีวิตสามารถนำมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ Endangered: EN (IUCN, 2016)
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ Endangered: EN (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ Endangered: EN (IUCN, )
ที่มาของข้อมูล
-
Freshwater FISHES IN THAILAND
-
สัตว์น้ำเกียรติประวัติไทย, กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2566
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2563.
-
ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง, 2560, กรมประมง
-
IUCN Red List
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช