ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
มีขนาดประมาณ 215 มิลลิเมตร คางคกขนาดใหญ่ ลำตัวป้อม มีสันแข้งบริเวณเหนือตาและแผ่นหู แต่ไม่มีสันแข็งที่ขมับ ต่อมพิษใหญ่ที่หลังแผ่นหูมีลักษณะกลม ลำตัวดำหรือน้ำตาลเข้ม ท้องสีจาง ประกอบด้วยจุดสีดำ พบทางตะวันตกและภาคใต้
ระบบนิเวศ :
-
อาศัยในบริเวณ น้ำตก ลำธารป่าดิบที่ราบต่ำ ปรับตัวให้อยู่ในป่าถูกรบกวนได้ดี (สวนยาง สวนปาล์ม ที่มีลำคลองไหลผ่าน หรือตามบ้านคน ที่มีลำคลองน้ำไหลปานกลาง ท้องลำธารเป็นกรวด)
-
ชนิดพันธุ์นี้พบอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น ถึงระดับความสูง 1,400 ม. รทก.
-
Inhabits rain forest streams as well as the caves in vicinity areas.
การกระจายพันธุ์ :
-
พบในประเทศพม่าจนถึงประเทศไทย ทางภาคตะวันตก ลงมาจนถึงภาคใต้ตอนล่างของไทย ต่อไปจนถึงมาเลเซีย สุมาตรา ชวา ในอินโดนีเซีย และบอร์เนียว พบทางภาคตะวันตกลงมาจนถึงภาคใต้ตอนล่าง อาศัยในบริเวณลำธารป่าดิบที่ราบต่ำ ปรับตัวให้อยู่ในป่าถูกรบกวนได้ดี
-
แหล่งอาศัยในประเทศไทย พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร พังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
นครศรีธรรมราช,สุราษฎร์ธานี
-
สุราษฎร์ธานี, ระนอง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองนาคา
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
คำเตือน :
-
ภาวะเป็นพิษจากการรับประทานสัตว์มีพิษ พิษจากจงโคร่ง คางคก และจงโคร่ง มีต่อมน้ำเมือกใกล้หู (parotid gland) ซึ่งขับเมือกที่มี สารชีวพิษ ประเภท digitaloids ได้แก่ bufotoxin, aglucones bufagins และ bufotalins ซึ่งมีลักษณะทางเคมีและการออกฤทธิ์คล้ายกับ digitalis glycosides นอกจากนี้มี alkaloids และสารประกอบอื่น ๆ อีกหลายชนิด ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองเฉพาะที่ แต่ไม่มากพอที่จะทำให้เกิดอาการตามระบบต่าง ๆได้ สามารถพบสารชีวพิษดังกล่าวนี้ ได้ที่หนังและเลือดของคางคก และจงโคร่ง อาการเป็นพิษ มักเกิดขึ้นช้า ๆ ภายหลังรับประทานคางคก หรือจงโคร่งแล้วหลายชั่วโมง เด็กจะทนต่อพิษได้มากกว่าผู้ใหญ่ เริ่มต้นผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องร่วง อาจมีอาการสับสน วิงเวียน เห็นภาพเป็นสีเหลือง ระดับความรู้สติจะเปลี่ยนแปลง เริ่มตั้งแต่สับสน เพ้อ ง่วงซึม มีอาการทางจิตประสาทจนถึงชักและหมดสติ อาการสำคัญคือ หัวใจจะเต้นช้าลง และผิดจังหวะ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะพบ atrioven tricular block ระดับต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของพิษที่ได้รับมี PVC, multiple foci extrasystole หรือ ventricular tachycardia และสุดท้าย จะเป็น ventricular fibrillation ผู้ป่วยจะถึงแก่กรรม จากระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว การรักษา เช่นเดียวกับการรักษาผู้ป่วยที่รับประทานสารพิษตามมาตรฐานทั่วไป ตรวจระดับเกลือแร่โดยเฉพาะโปแตสเซียมในเลือด ถ้าชีพจรช้า และระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติ ให้ฉีด atropine และถ้าอาการไม่ดีขึ้น ต้องใช้เครื่องกำกับจังหวะการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ อาจใช้ยารักษา และป้องกันการเต้นผิดจังหวะอื่น ๆ เช่น lidocaine, diphenylhydantoin, quinidine, amiodarone ฯลฯ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ และถ้ามี digitalis FAB antibody อาจทดลองใช้ได้ พิษของจงโคร่ง หรือคางคกอยู่ที่ผิวหนัง ไข่ หรือตัวอ่อนอย่างลูกอ๊อด (ห่อหมกฮวก หรือห่อหมกลูกอ๊อด อาหารพื้นบ้านของชาวอีสาน ต้องใช้ลูกอ๊อดจากกบหรือเขียด ห้ามใช้ลูกอ๊อดคางคก) แม้ว่า กระทรวงสาธารณสุขจะเคยออกมาเตือน ห้ามบริโภคคางคก หรือจงโคร่ง แต่ยังคงมีข่าวของการได้รับพิษจากคางคก จากการนำมาทำเป็นอาหารโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อยู่ เพราะไม่ว่าจะปิ้ง ย่าง ต้ม ทอด ความร้อนไม่ทำให้สารพิษสลายตัวได้ ดังนั้น การนำคางคก หรือจงโคร่งมาทำอาหาร ยังคงมีพิษอยู่ รวมถึงพวกคางคกตายซากตามท้องถนน จะต้องระวังสัตว์เลี้ยงไปเล่น แล้วได้รับพิษด้วย
ข้อมูลภูมิปัญญา
-
จงโคร่ง :: ในความเชื่อของคนปักษ์ใต้ จงโคร่ง หรือกงเป็นสัตว์นำโชค หากเข้าบ้านใครถือเป็นลางมงคล แต่ในบางท้องถิ่น มีการเอาหนังของจงโคร่งมาตากแห้ง แล้วมวนผสมกับใบยาสูบ สูบเหมือนยาสูบทั่วไป มีฤทธิ์แรงกว่ายาสูบ หรือบุหรี่ทั่วไป โดยมีความแรงเทียบเท่ากับกัญชา ในฟิลิปปินส์ก็นิยมทำเช่นเดียวกัน
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
พิพิธภัณฑ์
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |
---|---|---|---|
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |