ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
การกระจายพันธุ์ :
- ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- หนูนาเล็กมีขนาดเล็กกว่าหนูนาใหญ่ น้ำหนัก 77-120 กรัม เพศเมียมีนม 5 คู่ ส่วนอก 2 คู่ และส่วนท้อง 3 คู่ ขนด้านท้องสีเทาอ่อน ตีหลังคล้ำ และ เล็กกว่าของหนูนาใหญ่ ขุดรูอาศัยในนา คันนา และมีกองขุยดินที่ปากรู พบทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้ เป็นศัตรูของพืชเศรษฐกิจและเป็นพาหะ หรือ รังโรคติดต่อสู่คนและสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกันกับหนูนาใหญ่ กัดแทะทำลาย ข้าวและพืชไร่ตั้งแต่ระยะปลูก จนถึงระยะเก็บเกี่ยว พืชอาหาร ข้าว พืชไร่ ต่าง ๆ หอย ปูนา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- เลย
- นนทบุรี
- กระบี่
ระบบนิเวศ :
- ระบบนิเวศภูเขา
- ระบบนิเวศเกษตร
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าภูหลวง
- พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณเกาะเกร็ด และพื้นที่อื่นๆ เลียบแม่น้ำเจ้าพระยา
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- อาหาร
- ในเขตอีสานบางพื้นที่นำหนูซิงมาเป็นอาหารโดยการ อ่อม และหมก แต่ส่วนใหญ่ไม่พบการนำมาเป็นอาหาร แต่ในอดีตคนอีสานจะนำหนูซิงมาเล่นในงานวัด หรือเทศการบุญผ้าป่า โดยการนำมาเล่นเป็นเกมชื่อว่าหนูนาพาโชค
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ