ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- อึ่งลายเลอะหรือที่เรียกอีกอย่างว่าอึ่งลายแต้มเป็นอึ่งขนาดเล็ก ความยาวจากหัวถึงก้น 2-3 เซนติเมตร รูปร่างเพรียว หน้าสั้น ระยะห่างระหว่างตากว้างกว่าความกว้างเปลือกตาเล็กน้อย แผ่นหูไม่ปรากฏ มีสันจากหลังตาไปถึงโคนแขน นิ้วเรียว ปลายนิ้วแผ่ออกเล็กน้อย มือไม่มีพังผืด ฝ่ามือมีปุ่ม 3 ปุ่ม โดยปุ่มด้านนอกมีขนาดใหญ่ที่สุด ตีนมีพังผืดเล็กน้อย ประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของความยาวนิ้ว มีปุ่มบนฝ่าตีน 2 ปุ่มลำตัวด้านบนสีเทา สีน้ำตาลเทา หรือสีน้ำตาลแดง มีแถบสีขาวจากหางตาถึงโคนแขน มีลายเส้นคล้ายรูปน้ำเต้าจีนหรือรูปนาฬิกาทรายสีน้ำตาลและสีดำขอบขาวบนหลัง สีข้างสีเหลืองเรื่อๆ หรือสีแดงจางๆ มีจุดสีดำกระจายอยู่ ท้องสีขาวครีม ตัวผู้มีถุงขยายเสียง คางสีน้ำตาลดำ ด้านข้างตัวและหลังเต็มไปด้วยตุ่มกระจายห่างๆ ประชากรตามแต่ละภาคมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ดูเผินๆ คล้ายอึ่งน้ำเต้า ลูกอ๊อดรูปร่างเพรียวยาว ตัวค่อนข้างใส บริเวณหัวและหางมีสีส้มจางๆ ตามด้วยลายเส้นสีเข้ม ลูกอ๊อดจากบริเวณคอคอดกระ ไม่มีแถบและลาย
ระบบนิเวศ :
- ไม่พบอาศัยในเขตเมืองใหญ่ อาจต้องการพื้นที่อาศัยที่เป็นทุ่งหญ้าหรือสวนมากกว่าชนิดอื่น มักพบบนใบพืชคลุมดินขนาดเล็ก หรือตามก้อนหิน ริมลำห้วยหรือแอ่งน้ำ พบทั้งในป่าที่เป็นธรรมชาติ ตั้งแต่ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงป่าดิบเขา และยังปรับตัวอาศัยในบริเวณพื้นที่ที่มนุษย์ปลูกสร้าง เช่น สวนผลไม้ สวนป่า และบริเวณใกล้กับบ้านคนที่ติดชายป่าหรือชายทุ่ง เวลากลางวันมักหลบซ่อนตัวตามกองใบไม้ที่ทับถม ขอนไม้ล้ม หรือใต้ก้อนหิน ลูกอ๊อดพบอาศัยบริเวณทุ่งหญ้าที่มีน้ำขัง หรือแอ่งน้ำขังขนาดใหญ่ ลูกอ๊อดมักว่ายรวมกันเป็นฝูงหลวมๆ อาจเพื่อป้องกันนักล่าอย่างลูกอ๊อดปาดบ้าน และปาดตีนเหลืองอีสาน
- ชนิดพันธุ์นี้พบอาศัยอยู่ในป่าหลายประเภท รวมทั้งพื้นที่เกษตรกรรม และชุมชน
- ระบบนิเวศป่าไม้
- ระบบนิเวศเกษตร
- Inhabits forest edge to the primary forest.
- แอ่งน้ำขังทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- นครพนม
- พะเยา
- น่าน
- Nakhon Si Thammarat (Khao Luang, Nabon); Trang (Khao Chong); Yala (Banangstars); Narathiwat (Waeng).
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- สระแก้ว
- สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
- ตราด
- บุรีรัมย์, สระแก้ว
- กำแพงเพชร
- พะเยา
- จันทบุรี
- พิษณุโลก
- สุราษฎร์ธานี, ระนอง
- กระบี่
- กระบี่, ชุมพร, ลำพูน, เชียงราย
- ยะลา,ปัตตานี
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- บุรีรัมย์, สระแก้ว
- สระแก้ว
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- แม่น้ำสงครามตอนล่าง
- บริเวณบ้านปางพริก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง
- พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน อำเภอท่าวังผา และพื้นที่ใกล้เคียง
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
- อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ น้ำตกคลองแก้ว
- อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาสนามเพรียง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงลอ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองเครือหวาย
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเมี่ยง-ภูทอง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองนาคา
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
- ป่าคลองกาโหรด และป่าคลองหิน กระบี่, ป่าทุ่งระยะและป่านาสัก ชุมพร, ป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร ลำพูน, ป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว เชียงราย
- พรุลานควาย
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
การกระจายพันธุ์ :
- พบทั่วประเทศ
- พบทั่วประเทศ
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2004)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Alcohol
Skeleton
Alcohol
Alcohol
Alcohol
Skeleton
Skeleton
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ