ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
นกขนาดเล็กมาก (14 ซม.) ตัวผู้ร่างกายสีดำ มีลายพาดสีขาวที่ปีกและขนคลุม โคนขนหางด้านบน ตัวเมียไม่มีลายสีขาวที่ปีก มีลายขีดเล็กน้อยทางด้านบนลำตัว ลายขีดทางด้านล่างลำตัวไม่เด่นชัด ขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีสนิม
-
นกเพศผู้ หัวและลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ส่วนหัวแกมสีดำที่หัวตา ขนคลุมหู คางและอกตอนบน หลัง สีแกมน้ำตาลเข้มแกมเทา มีลายสีคล้ำ อกสีน้ำตาลแดงเพศผู้ขนชุดผสมพันธุ์ หัว คอ สี ดำ ลำตัว ด้านบนดำมีลายน้ำตาลจางๆ ข้างคอและแถบปีกสีขาว ตะโพกสีขาวปลายจนคลุมตะโพกสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแกมสัม อกสีน้ำตาลแดงเข้มขึ้น หางสีดำ ชนิดย่อยประจำถิ่น przewalski อกและท้อง
สีน้ำตาลแดงเข้ม นกเพศเมีย คล้ายตัวผู้นอกฤดูผสมพันธุ์แต่ คอและก้นแกมขาว ตะโพกน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง
สีน้ำตาลแดงเข้ม นกเพศเมีย คล้ายตัวผู้นอกฤดูผสมพันธุ์แต่ คอและก้นแกมขาว ตะโพกน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง
ระบบนิเวศ :
-
พบตามพุ่งหญ้า ป่าละเมาะ และพื้นที่กสิกรรมต่างๆ มักพบเกาะอยู่บนยอดหญ้ายอดไม้พุ่ม อาหารได้แก่ แมลงต่างๆ โดยจะบินลงมาโฉบจับบนพื้นดิน บางครั้งก็โฉบจับกลางอากาศใกล้ๆ กับที่เกาะ
-
ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรมเปิดโล่ง
-
ระบบนิเวศเกษตร
-
ระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น, ภูเขาหินทรายปกคลุมไปด้วยป่าและลานหิน
-
ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน
-
ระบบนิเวศเกษตร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
-
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี, อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร (ภูผาเติบ)
-
เชียงใหม่
-
อุบลราชธานี
-
อุตรดิตถ์,แพร่,น่าน,พะเยา
-
น่าน
-
นนทบุรี
-
สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
-
นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
-
สระแก้ว
-
บุรีรัมย์, สระแก้ว
การขยายพันธุ์ :
-
ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ทำรังด้วยใบหญ้า มอสซ์ รากฝอย และสารเยื่อใยต่างๆ เป็นรูปถ้วย ตามโคนไม้พุ่มเกือบติดดิน ไข่สีน้ำเงินจางมีลายขีด ลายดอกดวงสีน้ำตาลแกมแดง ในแต่ละรังมีไข่ 4-5 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 13 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่เกษตรดอยอินทนนท์และอำเภอจอมทอง
-
ผาแต้ม
-
ลุ่มน้ำอิง,ลุ่มน้ำยม,ลุ่มน้ำน่าน
-
พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน อำเภอท่าวังผา และพื้นที่ใกล้เคียง
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
-
อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
-
อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
-
อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
-
อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
ที่มาของข้อมูล
-
OEPP Biodiversity Series Vol. 7 Birds of Bung Boraphet, 2543
-
OEPP Biodiversity Series Vol. 18 Birds of Dry and Semi-Humid Ecosystem, 2550
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 7 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศเกษตร, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 8 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศแห้งแล้งและกึ่งชื้น, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน (Inland Water Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศเกษตร (Agricultural Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
พิพิธภัณฑ์
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |
---|---|---|---|
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |