ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นกขนาดเล็ก (16 ซม.) แตกต่างจากนกเค้าโมง โดยที่มีขนาดเล็กกว่า มีแถบสีเนื้อรอบต้นคอ ภายในแถบดังกล่าวมีแถบสีดำ 2 แถบอยู่ข้างใน หัวสีเทา มีลายจุดสีขาว ตาสีเหลือง
- นกเค้าขนาดเล็กมาก ตาเหลือง หน้าสีคล้ำกว่านกเค้าโมง มีคิ้วบางๆ สีขาวเหนือตา หัวน้ำตาลเข้มมีลายจุดเล็กสีน้ำตาลเหลือง ท้ายทอยมีลวดลายคล้ายตาปลอมเพื่อหลอกศัตรู ลำตัวด้านบน น้ำตาลมีลายน้ำตาลแดงคล้ำกระจายกและสีข้างมีลายแถบใหญ่สีน้ำตาลแดงคล้ำ ท้องขาว
ระบบนิเวศ :
- พบตามป่าทั่วไป และบริเวณทุ่งโล่ง หากินในตอนกลางวัน หรือตอนเย็น อาหารได้แก่ นกขนาดเล็ก นอกจากนี้ก็ยังกินหนู กิ้งก่า จักจั่น ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง และแมลงขนาดใหญ่อื่นๆ มักจะใช้กรงเล็บจับเหยื่อให้ตายเสียก่อน จึงจะใช้ปากฉีกกินทีหลัง
- ป่าดิบ ป่าดิบค่อนข้างโปร่ง
- ระบบนิเวศป่าไม้, ป่าดิบเขา
- ระบบนิเวศภูเขา
- ระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น, ภูเขาหินทรายปกคลุมไปด้วยป่าและลานหิน
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี
- เชียงใหม่
- เลย
- อุบลราชธานี
- สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- สระแก้ว
การขยายพันธุ์ :
- ผสมพันธุ์ในเดือนมีนาคม ทำรังตามโพรงของต้นไม้ ซึ่งเป็นโพรงที่เกิดตามธรรมชาติ ไข่สีขาว ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 14-15 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าดอยอินทนนท์, เขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ
- ป่าภูหลวง
- ผาแต้ม
- อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล
ข้อมูลสภานภาพ CITES

CITES โลก

- บัญชีหมายเลข II (ประกาศใช้เมื่อ 2013-06-12)

CITES ไทย

- บัญชีหมายเลข II

พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ