ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นกขนาดเล็กถึงกลาง (43 ซม.) หางยาว ปีกสั้น และปลายปีกมน ปากสีเขียวอ่อนตาแดง ขาและนิ้วสีเทา ตัวผู้มีสีดำเป็นมันเหลือบด้วยสีน้ำเงิน ตัวเมียเป็นสีน้ำตาล เข้มมีลายจุดและลายพาดสีขาวและสีเนื้อโดยตลอดทั้งร่างกาย
ระบบนิเวศ :
- พบตามป่าละเมาะ สวนผลไม้ บริเวณที่กสิกรรม ป่าชายเลน และป่าโปร่ง กินผลไม้เปลือกอ่อนโดยเฉพาะลูกโพธิ์ ไทร กร่าง หว้า นอกจากนี้ยังกินตัวหนอนและแมลงต่างๆ รวมทั้งขโมยไข่ของนกเล็กๆ อีกหลายชนิดเป็นอาหารอีกด้วย
- สวนยาง ชายป่า ป่ายางแดง นาข้าว
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- สระแก้ว
- บุรีรัมย์, สระแก้ว
- กำแพงเพชร
- ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา
- พะเยา
- จันทบุรี
- พิษณุโลก
- บุรีรัมย์
- กระบี่
- นนทบุรี
- กรุงเทพมหานคร
- กรุงเทพมหานคร
- ยะลา,ปัตตานี
การขยายพันธุ์ :
- การผสมพันธุ์ ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนธันวาคม-พฤษภาคม เป็นนกปรสิต ไม่สร้างรังของตนเอง แต่จะไปวางไข่ในรังของนกอื่นๆ ไข่เป็นสีเทาแกมเขียว ในแต่ละรังมักวางไข่
เพียงฟองเดียว ระยะเวลาฟักไข่ 18-20 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
- อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาสนามเพรียง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงลอ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองเครือหวาย
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเมี่ยง-ภูทอง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดงใหญ่
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
- พรุลานควาย
การกระจายพันธุ์ :
- นกประจำถิ่น
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล